วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

เลือกลงทุนอย่างมืออาชีพ'ยิ่งออม ยิ่งงอกเงย' 

ME by TMBทางเลือกใหม่ดอกเบี้ยสูงกว่าระบบ 6เท่า




         สถานการณ์การออมของคนไทยได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง และในภาพรวมพบว่าพฤติกรรมการออมของคนไทยน้อยลง แต่เมื่อลงลึกไปในข้อมูลจะพบว่า แท้จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศมีบัญชีออมทรัพย์รวมกว่า 72 ล้านบัญชี และมีเงินออมในระบบรวมแล้วกว่า 10 ล้านล้านบาท (ตัวเลขล่าสุดในวันที่ 28 เม.ย.2557, ธนาคารแห่งประเทศไทย) คิดเป็นเงินในบัญชีออมทรัพย์สูงถึง 4.9 ล้านล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาแล้วพบว่า แท้จริงแล้ว คนไทยไม่ได้ออมน้อยลงเลย แต่ปัญหาคือเราออมอย่างถูกวิธีหรือไม่ การที่เราปล่อยเงินให้นอนนิ่งๆ อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ นั่นไม่ต่างอะไรกับการปล่อยเงินนอนหลับอยู่ แล้วรอเวลาที่จะลดมูลค่าลง เปรียบได้กับคำว่า "ยิ่งออม ยิ่งไม่งอกเงย"
"ดังนั้น...จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้อง "ปลุก" เงินของคุณให้ "ตื่น" เพื่อให้เงินได้งอกเงย โดยการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ให้มองการออมเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการออมเพื่อการลงทุนถือเป็นรูปแบบการลงทุนและการบริหาร
เงินที่ไม่มีความเสี่ยง โดยมีเคล็ดลับง่ายๆ คือ การเลือกออมในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น บัญชี ME ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 3.25 เปอร์เซ็นต์ หรือสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปถึง 6 เท่า อีกทั้งเป็นบัญชีที่มีความคล่องตัวในการฝากหรือถอน สามารถเช็คดูจำนวนดอกเบี้ยที่งอกเงยทุกวันเพื่อเป็นกำลังใจในการออม ME by TMB จึงจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ "WAKE UP YOUR MONEY WITH ME" ปลุกเงินให้ตื่น กระตุ้นคนไทยให้ปลุกเงินที่นอนหลับอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ มาศึกษาทางเลือกการออมใหม่ๆ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเช่น ME by TMB" น.ส.รัชดา เสริมศิลปกุล ผู้อำนวยการการตลาดและการขาย ME by TMB กล่าว
เพราะฉะนั้นถ้าอยากมั่นใจว่าในวัยเกษียณจะสามารถใช้ชีวิตสบายๆ ได้อย่างที่ฝัน ก็ต้องมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบเหมาะสมกับตัวเองตั้งแต่วันนี้ ด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การออมเงิน ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเริ่มออมช้าก็ยิ่งต้องเพิ่มจำนวนเงินออมในแต่ละเดือนให้มากขึ้นเรื่อยๆ

ปลุกเงินออมด้วยดอกเบี้ยสูง
มาคิดกันง่าย.... แล้วถ้าเป็นเงินออมของคุณจะปลุกให้มันตื่นได้อย่างไร?ในกรณีที่ออมเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 5,000 บาท โดยวิธีการแบบเดิมๆ คือ ฝากออมทรัพย์ (อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 0.5% ต่อปี) เวลาผ่านไป 1 ปี เท่ากับมีเงินออมอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นบาท จะได้รับดอกเบี้ยทั้งสิ้นเพียง 163 บาท
แต่หากเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากขึ้น หรือ ฝากเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น เช่น ME by TMB ได้ดอกเบี้ย 3.25% ต่อปี เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านไป 1 ปี เราจะมีเงินออม 6 หมื่นบาท บวกกับดอกเบี้ยอีกประมาณ 1,065 บาท
ดอกเบี้ย 1,065 บาท ดูเหมือนจะน้อยนิด แต่ถ้าเราเดินหน้าออมเงินเดือนละ 5,000 บาทไปจนครบ 5 ปี เงินฝากจะเพิ่มเป็น 3 แสนบาท และได้ดอกเบี้ยประมาณ 9,445 บาท ซึ่งต่างกันลิบลับกับการฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ เพราะจะได้ดอกเบี้ยเพียง 1,374 บาท เท่านั้น
นอกจากนี้ หากเรายังคงรักษาวินัยในการออมเงินไว้ที่เดือนละ 5,000 บาท โดยได้ดอกเบี้ย 3.25% ไปอย่างต่อเนื่อง เงินออมของเรากลายเป็น ล้านบาท ภายใน 13 ปี แต่ถ้าได้ดอกเบี้ย 0.5% จะต้องฝากกันนาน 17 ปี กว่าจะมี 1 ล้านบาท ถ้าให้เงินล้านก้อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสำหรับเกษียณ ซึ่งเป็นเงินสำหรับใช้ชีวิตในวันที่ไม่มีรายได้แล้ว ก่อนจะนำเงินก้อนนี้ไปทำอะไรจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ต้องคิดถึงความปลอดภัยของเงินต้น และผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ
หลายคนมองซ้ายมองขวาแล้ว ไม่รู้จะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนอะไรให้เงินงอกเงย จึงลงเอยที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร เพราะคุ้นเคยที่สุด สบายใจที่สุด ในกรณีที่นำเงินล้านนี้ไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั้งหมด แล้วค่อยๆ ทยอยเบิกออกมาใช้เดือนละ 5,000 บาท เงินนี้จะหมดไปภายใน 17 ปี แต่ถ้าฝากไว้ที่ ME by TMB ได้ดอกเบี้ย 3.25% ต่อปี เงินจำนวนนี้จะยืดอายุออกไปได้อีก 6 ปี หรือใช้ไปได้นานถึง 23 ปี นี่ถือเป็นตัวอย่างที่คิดคำนวณเปรียบเทียบให้เห็นถึงความต่างของดอกเบี้ยที่เราจะได้รับ
         เตรียมพร้อม...ใช้ชีวิตแฮปปี้หลังเกษียณ ด้วย "การออม"อีกหนึ่งข้อมูลทำไม การออมจึงสำคัญ....เชื่อหรือไม่ว่า อีกไม่ช้าไม่นาน ประเทศไทยจะไม่ต่างจากประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะมีแต่ "ผู้สูงวัย" นั่นเพราะประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และในปี 2568 จะกลายเป็น "สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์" ตามการคาดการณ์ของกระทรวงสาธารณสุข
และอีกไม่ช้าไม่นานเช่นกัน เราก็จะเป็นหนึ่งในผู้สูงวัยเหล่านี้...ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงวันนั้นเราอาจจะไม่ได้เป็นคนแก่ที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบสุขสบายอย่างที่หวังไว้
ถ้าจะหวังพึ่งพารายได้จากลูกหลาน ก็คงต้องเตรียมใจเผื่อเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะคนที่เลือกใช้ชีวิตโสด ยิ่งต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเงินอย่างดี เพราะนอกจากไม่มีลูกหลาน ยังต้องสามารถดูแลตัวเองให้ได้ด้วย เพราะในอนาคตคนวัยทำงานหนึ่งคนจะต้องแบกรับภาระดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ลูกหลานของคนอื่นไม่มีกำลังเหลือพอมาดูแลผู้สูงอายุอย่างเรา
นั่นเพราะถ้าดูจาก อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ (Potential support ratio : PSR) จะเห็นว่า ผู้สูงอายุในปี 2543 มีคนวัยทำงานมาช่วยเหลือดูแลได้มากถึง 7 คน แต่ประเมินกันว่า ในปี 2573 ผู้สูงอายุไทยแต่ละคนจะมีคนวัยทำงานที่อาจจะช่วยในการดูแลค้ำจุนเพียง 2 คนเท่านั้น
ดังนั้นถ้าเรามีการวางแผนการออมและการลงทุน ไว้สำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณอย่างเหมาะสม ก็จะใช้ชีวิตในวัยแห่งการพักผ่อนได้อย่างสบายๆ ไม่ลำบาก
แต่จากการสำรวจการเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานในระบบ ช่วงอายุ 40-60 ปี โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนไทย 86% จะกลายเป็น "คนแก่มีกรรม" เพราะมีเงินไม่พอใช้ในวัยหลังเกษียณ

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีเงินไม่พอใช้ มีอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ 
             1. ออมเงินไว้น้อยเกินไป ถ้าต้องการจะใช้ชีวิตสบายๆ แบบคนแก่ที่พอมีพอกิน เราต้องเริ่มวางแผนเก็บออมไว้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพราะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเก็บออมให้เพียงพอสำหรับชีวิตอีก 20-30 ปีหลังจากเกษียณ
ลองคิดง่ายๆ ว่า ถ้าหลังจากเกษียณอยากจะใช้เงินสักเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ไปอีก 25 ปี หลังจากเกษียณ เราจะต้องมีเงินอย่างน้อยๆ 4.5 ล้านบาท ในวันเกษียณ
แต่น่าเสียดายที่คนไทยออมเงินไว้น้อยเกินไป เห็นได้จากระดับการออมของครัวเรือนไทย มีค่าเฉลี่ยการออมต่อรายได้อยู่ที่ 11.3% แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 9.2% เท่านั้นเพราะฉะนั้นถ้าอยากจะใช้ชีวิตสบายๆ ในวัยเกษียณจะต้องเริ่มออมตั้งแต่ตอนนี้ และต้องเริ่มให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเริ่มออมช้าก็ยิ่งต้องเพิ่มจำนวนเงินออมในแต่ละเดือนให้มากขึ้น
การเงินออมทำได้ง่ายๆ คือ มีรายได้เท่าไรให้หักออกไปออมก่อนเสมอ และใช้เงินเท่าที่เหลือจากการออมเท่านั้น
และวิธีที่ช่วยให้การออมเงินเดินหน้าไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น  คือ การออมแบบเท่าๆ กันทุกเดือน โดยอาศัยการตัดบัญชีอัตโนมัติจาก บัญชีเงินเดือนไปเก็บไว้ในอีกบัญชีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เรารักษาวินัยในการออมได้ดีมากขึ้น
นอกจากนี้ บัญชีที่จะใช้เป็นบัญชีสำหรับการออมเงิน ก็ไม่ควรจะทำให้
เบิกเงินได้ง่ายเกินไป จึงไม่ควรเป็นบัญชีที่มีบัตรเอทีเอ็ม จะได้มีเวลาคิดทบทวนก่อนจะเบิกออกมาใช้
         2.ฝากเงิน ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป หลายคนบอกว่า ออมเงินมาตั้งนาน แต่ดูเหมือนเงินไม่ได้งอกเงยขึ้นสักเท่าไร นั่นอาจจะเกิดจากการออมที่ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป หรือเป็นการลงทุนที่ไม่กล้ารับความเสี่ยง ทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนน้อยตามไปด้วย
เพราะแม้เราจะบอกว่า คนไทยมีระดับการออมไม่มากนัก แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทยชี้ให้เห็นว่า คนไทยทั้งประเทศมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารรวมกว่า 83 ล้านบัญชี และมีเงินออมในระบบรวมกว่า 10 ล้านล้านบาท

แต่เงินฝากเหล่านี้ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป
ลองนำเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ 3-12 เดือน รวมกันประมาณ
8.4 ล้านล้านบาท มาคำนวณดูว่า ในระยะเวลา 1 ปี เงินจำนวนนี้ที่ฝากอยู่ในธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรวมกันเท่าไร... ผลที่ได้ คือ เงินฝากจำนวนนี้จะ ได้ดอกเบี้ยประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท
ทีนี้ลองคิดแทนคนทั้งประเทศว่า ถ้าเปลี่ยนจากฝากออมทรัพย์ทั่วๆ ไป หรือฝากประจำ แล้วย้ายไปหาการลงทุน หรือการออมที่ได้ดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น ปีละ 3.25% เงินฝากจำนวนเดียวกันนี้จะได้ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 2.74 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.97 แสนล้านบาท ภายในเวลาเพียง 1 ปี
ทีนี้ก็พอจะเห็นแล้วว่า สาเหตุที่เงินเราไม่งอกเงยก็เพราะเราปล่อยเงินของเราให้นอนนิ่งๆ อยู่ในบัญชีมานานเกินไป
เพราะฉะนั้นคงต้องรีบปลุกตัวเองให้ลุกขึ้นมาออม พร้อมๆ กับปลุกเงินของเราให้ตื่นได้แล้ว..




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น