ข่าวเศรษฐกิจ/การลงทุน



ทิศทางธุรกิจ....ภายใต้โรดแมพ (Road Map) ของ คสช.



ทิศทางธุรกิจ....ภายใต้โรดแมพ (Road Map) ของ คสช.



ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองโรดแมพด้านเศรษฐกิจของ คสช. จะช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ แต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชัดเจนของแผนงานในทางปฏิบัติ และการปรับตัวของผู้ประกอบการ  
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม  ส่งผลให้ภาพการเมืองและเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศโรดแมพ (Road map) แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมา ทาง TMB Analytics ได้มองภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศช่วงที่เหลือของปีออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

กลุ่มแรก คือ “ธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็ว” ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านค้าปลีกต่างๆ ซึ่งได้รับผลพวงจากเม็ดเงินจำนำข้าวที่ได้เริ่มดำเนินการจ่ายคืนกลับเข้าสู่กระเป๋าของเกษตรกรแล้วครึ่งหนึ่ง (ล่าสุดจ่ายแล้ว 4 หมื่นล้านบาทจากยอดค้างจ่าย 9.3 หมื่นล้านบาท) ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่มีทิศทางดีขึ้นหลังจากมีการยกเลิกประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญไปแล้วบางส่วน ได้แก่ พัทยา กระบี่ เกาะสมุย พังงา ภูเก็ต หาดใหญ่ ชะอำ เกาะช้าง หัวหิน และเกาะพะงัน 
กลุ่มต่อมา คือ “ธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว” ได้แก่ ธุรกิจผลิตและขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่ากำลังซื้อยังอ่อนแรงอยู่ แต่ด้วยทิศทางการปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ ประกอบกับความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้งในปีหน้า อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่อิงกับภาคการเกษตรยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจจะส่งกระทบต่อกำลังซื้อของธุรกิจเหล่านั้นในระยะถัดไปได้ 
และในกลุ่มสุดท้าย คือ “ธุรกิจที่ต้องรอปัจจัยหนุน” ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องมีมาตรการหรือนโยบายจากภาครัฐช่วยกระตุ้น ได้แก่ กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักรและอุปกรณ์  เนื่องจากภาครัฐอยู่ในระหว่างการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อาทิ การตั้งบอร์ดบีโอไอเพื่ออนุมัติเงินลงทุนกว่า 7.6 แสนล้าน การลดขั้นตอนจากออกใบอนุญาต รง.4 โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้ อาจต้องรอเวลาสักพัก จึงจะทำให้กลุ่มธุรกิจที่รอปัจจัยหนุนได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ปัยจัยสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจในปัจจุบัน เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้านความชัดเจนของโครงสร้าง นโยบาย แผนงาน และมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยออกมาว่าจะสามารถแปลงให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติได้มากขนาดไหน ซึ่งในส่วนภาคธุรกิจคงต้องปรับตัวตาม และเลือกวางแผนธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนงานใหม่ๆของภาครัฐ อันจะนำไปสู่การฟื้นตัวของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้


TMB เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ตอกย้ำแนวคิด 

Make THE Difference


TMB เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ตอกย้ำแนวคิด Make THE Difference


       เริ่ม “เปลี่ยน” กันตั้งแต่วันนี้ ก็ยังไม่สาย ไม่จำเป็นต้องทนกับความคุ้นเคยเดิมๆ ล่าสุด ทีเอ็มบี นำโดย ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร จัดแถลงข่าวเปิดตัว “เมค เดอะ ดิฟเฟอร์เรนซ์ 2014” (Make THE Difference) “ทีเอ็มบี เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น” พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ไม่หยุดถาม” ที่สะท้อนแนวคิดให้คนไทยรู้จักท้าทายความเคยชินเดิมๆกับทุกสิ่งรอบตัวเรา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีขึ้น ตามแนวคิด Make THE Difference โดยมีแขกผู้มีเกียรติที่ร่วมเสริมแนวคิด อาทิ วาทยกรหนุ่มอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ทฤษฎี ณ พัทลุง และ หวานหวาน-อรุณณภา พาณิชจรูญ นักแสดงสาวที่ได้พิสูจน์การ Make THE Difference กับเสน่ห์การปั่นจักรยาน ร่วมงาน ณ ออดิทอเรียม ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน

         ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ในปีนี้ Make THE Difference จะใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น กับภาพยนตร์โฆษณา “ไม่หยุดถาม” ที่เรามองสิ่งต่างๆ รอบตัวจนชินชา กลายเป็นเรื่องปกติ จุดเริ่มต้น ที่จะ Make THE Difference อยู่ที่ “คำถาม” เพียงแค่ต้องเริ่มสร้างคำถาม หันมาตั้งคำถามกับตัวเอง และสิ่งรอบข้าง ว่าเราจะทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทนกับความคุ้นเคยเดิมๆ เพียงแค่นี้ ก็จะเปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ได้อย่างง่ายดาย”

          ผู้ร่วมเจตนารมณ์ในการ Make THE Difference อย่างวาทยกรหนุ่มที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ทฤษฎี ณ พัทลุง อัจฉริยะแห่งดนตรีคลาสสิกวัย 28 ปี ร่วมแชร์ประสบการณ์และบอกเล่าถึงจุดพลิกผัน ที่นำมาสู่การเปลี่ยน เผยว่า "ความล้มเหลวครั้งหนึ่งในการเป็นคอนดักเตอร์ที่ฝรั่งเศส ทำให้เกิดการเปลี่ยน ก็คือ มีจุดหมาย ในชีวิต ปรับปรุงตัวเองและ ไม่หยุดเรียนรู้ และยังสอนให้รู้ว่า ต่อให้เราอยู่สูงแค่ไหน เราก็ตกลงมาได้” ส่วน หวานหวาน-อรุณณภา พาณิชจรูญ ที่ได้ Make THE Difference กับเสน่ห์การปั่นจักรยานแบบเอ็กซ์ตรีม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกับชีวิต เผยถึงการตั้งเป้าหมายอย่างภูมิใจว่า “ตอนนี้หวานรู้สึกมีความสุขกับการใช้ชีวิตมาก จากการตั้งเป้าหมายว่าจะชิงแชมป์แข่งจักรยานของประเทศไทย ซึ่งเราก็ไม่คิดว่า เราจะทำได้หรือไม่ แต่ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน อยู่ที่ว่าเราจะเลือกจัดการชีวิตอย่างไร เมื่อเริ่มแค่ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง ลงมือทำ พอทำตามเป้าหมายได้ในระดับหนึ่งแล้ว คนมองเราเป็นแรงบันดาลใจ มันเป็นความสุขค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้ช่วยทำให้พวกเขามีสุขภาพดีขึ้น ออกจากหน้าจอโทรศัพท์ ออกจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คบ้าง เป็นการผ่อนคลาย มีชีวิตที่แฮปปี้ขึ้นค่ะ”

           อย่ากลัวที่จะคิดนอกกรอบ เริ่มตั้ง “คำถาม” กับตัวเอง และสังคมรอบข้าง ว่าเราทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ ตั้งแต่วันนี้ เพื่อ Make THE Difference เปลี่ยน ...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น


]





TMBAM เปิดตัวกองทุนหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เน้น บริหารเชิงรุกคัดสรรสินทรัพย์ชั้นดีทั้งไทยและต่างประเทศ


TMBAM เปิดตัวกองทุนหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์เน้น บริหารเชิงรุกคัดสรรสินทรัพย์ชั้นดีทั้งไทยและต่างประเทศ


          ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (TMBAM) เปิดเผยว่า “ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจภายในประเทศยังมีความเปราะบาง ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูงจนทำให้ไม่กล้าที่จะลงทุน ขณะเดียวกันอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในประเทศก็อยู่ในระดับต่ำจนไม่สามารถเอาชนะเงินเฟ้อได้ เราจึงได้นำเสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้ลงทุนในการช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ต และขณะเดียวกันก็คาดหวังได้ว่าจะมีรายได้รับอย่างสม่ำเสมอพอสมควร โดยกำหนดออกกองทุนอสังหาริมทรัพย์ที่มีชื่อว่า กองทุนเปิดทหารไทยพร็อพเพอร์ตี้ อินคัม พลัส กำหนดเปิดเสนอขายครั้งแรก (IPO) ระหว่างวันที่ 16-27 มิถุนายน ศกนี้ ผู้สนใจสามารถเริ่มลงทุนด้วยเงินขั้นต้นเพียง 1,000 บาท

กองทุนเปิดทหารไทยพร็อพเพอร์ตี้อินคัม พลัส มีนโยบายลงทุนในหุ้นหรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ใช้กลยุทธ์การบริหารเชิงรุกโดยเน้นการคัดสรรสินทรัพย์คุณภาพดีทั้งในและต่างประเทศเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ พร้อมกำหนดนโยบายจ่ายเงินปันผลรายไตรมาสโดยขึ้นกับผลการดำเนินงานในรอบนั้นๆ

“จุดเด่นของกองทุนนี้คือผู้จัดการกองทุนมีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการลงทุนตามคุณลักษณะของการเป็น Fund of Property Funds แนวทางการบริหารเชิงรุก คัดสรรหน่วยลงทุน ตราสาร หรือหุ้นตามปัจจัยพื้นฐาน โดยมีกรอบการลงทุนที่กว้างขวางสามารถเลือกลงทุนได้ทั้งในและต่างประเทศ ได้เพิ่มโอกาสให้ผู้จัดการกองทุนสามารถบริหารจัดการเพื่อสร้างผลตอบแทนที่ดี มีความสม่ำเสมอ และยังช่วยลดความเสี่ยงของการกระจุกตัวหรือพึ่งพาสินทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่มากจนเกินไป ดังนั้น เงินลงทุนที่เริ่มต้นเพียง 1,000 บาทของเราจึงมั่นใจได้ว่าจะมีผู้เชี่ยวชาญคอยช่วยดูแลและลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเสมือนว่าเราได้ลงทุนและเป็นเจ้าของโรงแรมหรู ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ อาคารสำนักงานหรืออสังหาริมทรัพย์เลื่องชื่อ ขณะเดียวกันก็ยังมีสภาพคล่องที่สูงกว่าการที่เราลงทุนเองโดยตรงในอสังหาริมทรัพย์แห่งใดแห่งหนึ่ง โดยสามารถซื้อ/ขายได้ทุกวันทำการ”

กองทุนนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนในระยะค่อนข้างยาว ชื่นชอบรายได้/ผลตอบแทนแบบกระแสเงินสดรับ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายจ่ายเงินปันผลของกองทุนที่ตั้งไว้เป็นรายไตรมาส (ไม่เกิน 4ครั้งต่อปี ขึ้นกับผลการดำเนินงานและเงื่อนไขเป็นไปตามหนังสือชี้ชวน) โดยพอร์ตการลงทุนในเบื้องต้นคาดว่าจะประกอบด้วยการลงทุนในหุ้นหรือตราสารหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่มีศักยภาพของไทย และบางส่วนจะกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศเพราะมีทางเลือกการลงทุนได้หลากหลายและมีสภาพคล่องที่สูงกว่า อาทิเช่น การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT) ของประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น ทั้งนี้ เราจะป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศตามดุลพินิจผู้จัดการกองทุน ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีการป้องกันความเสี่ยงของเงินต้นเกือบทั้งหมดหรือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90” ดร.สมจินต์ กล่าวเพิ่มเติม

ผู้ที่สนใจลงทุนใน กองทุนเปิดทหารไทย หรือสนใจการลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆภายใต้การจัดการของบริษัทฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนลูกค้าสัมพันธ์ TMBAM โทร 1725 หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัท ได้แก่ TMB ทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนการสนับสนุนการขาย และทางอินเตอร์เนตผ่านเวปไซด์ www.tmbam.com






ทีเอ็มบีสนับสนุนซิมโฟนี่ขยายวงจรสื่อสารความเร็วสูงทั่วประเทศและเตรียมเชื่อมการสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน



ทีเอ็มบีสนับสนุนซิมโฟนี่ขยายวงจรสื่อสารความเร็วสูงทั่วประเทศและเตรียมเชื่อมการสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน

          
          ทีเอ็มบี สนับสนุนบริษัทซิมโฟนี่ 300 ล้านบาท เพื่อลงทุนขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานวงจรสื่อสารความเร็วสูง ให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศ และใช้เป็นฐานเชื่อมโยงการสื่อสารไปยังประเทศเพื่อนบ้าน   นายพีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ 1 ทีเอ็มบี เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 40%   และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งรวมผู้ใช้บริการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และในระดับภูมิภาคจากประเทศเพื่อนบ้าน  ธนาคารมองว่าปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นต่างๆ  ดังนั้น โอกาสการเติบโตของผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงจึงยังมีอีกมาก   เรียกว่าเติบโตควบคู่กับความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจก็ว่าได้ และในโอกาสที่บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ SYMC ได้ขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับวงจรสื่อสารความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัท ซิมโฟนี่ฯ  ซึ่งมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตลาดในระยะยาวและมีรายได้ที่เติบโตสม่ำเสมอจากการให้เช่าโครงข่ายการสื่อสาร ในปีนี้ ธนาคารจึงได้ให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมจำนวน 300 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่มีอยู่จำนวน 200 ล้านบาท  สำหรับนำไปลงทุนขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม  โดยบริษัท ซิมโฟนี่ฯ มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่การให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการวงจรความเร็วสูงระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับ ธุรกรรมการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
นายกรัณย์พล อัศวสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ซิมโฟนี่ฯ ได้ขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการการเชื่อมต่อที่มากขึ้น และขยายแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้น เช่น การเชื่อมต่อในโครงข่ายส่วนบุคคล ดิจิตอลทีวี โทรศัพท์ 3G ทั้งนี้ บริษัท ซิมโฟนี่ฯ เป็นผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใช้โครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเป็นโครงข่ายหลัก เพื่อรองรับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ประเภทมีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี 2549 และในปี 2554 บริษัท ซิมโฟนี่ฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL PRIVATE LEASED CIRCUIT : IPLC) ใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (INTERNATIONAL INTERNET GATEWAY : IIG) และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (NATIONAL INTERNET EXCHANGE : NIX) แบบที่สอง และได้รับอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยี WI-FI เพิ่มเติมจากโครงข่ายเดิมตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ประเภทมีโครงข่ายเป็นของตนเองฉบับเดิม  นอกจากนี้ บริษัทซิมโฟนี่ฯ ยังได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม การให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง  และใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับชาติ ในปี 2556


ทีเอ็มบีสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้ แซส เทค โซลูชั่น



ทีเอ็มบีสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้ แซส เทค โซลูชั่น


                   
               นายไตรรงค์ บุตรากาศ (ซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัท แซส เทค โซลูชั่น จำกัด เป็นจำนวน 195 ล้านบาท เพื่อเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่  เครื่องชั่งอัตราการไหลระดับความสูง, เครื่องจักรกล, ปั๊ม, วาวล์ และเครื่องมือทุกชนิด เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ โดยนายนายสุรศักดิ์ อุดมศิลป์ กรรมการ บริษัท แซส เทค โซลูชั่น จำกัด ร่วมลงนามในสัญญา ณ ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่



หั่นคาดการณ์ 2557 หวั่นการเมืองกระชับพื้นที่เศรษฐกิจ


            ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ลง จากร้อยละ 2.9 เหลือร้อยละ 2.0 เหตุความไม่แน่นอนทางการเมืองบั่นทอนการใช้จ่าย โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน คาดอาจได้เห็นสภาพัฒน์ฯ เผยจีดีพีไตรมาสแรกหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.7
            เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2557 หลายตัวบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือนมีนาคม หรือดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวถึงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และการชะลอการลงทุนออกไปก่อนของภาคธุรกิจ
จริงอยู่ที่เศรษฐกิจไทยนั้นเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปี 2556 ก่อนที่การชุมนุมทางการเมืองจะเริ่มต้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การชะลอตัวดังกล่าว “ลากยาว” แทนที่จะกลับมาฟื้นตัวได้ตามวัฏจักรเศรษฐกิจตามปรกติ ซึ่งถ้าพิจารณาตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่งแล้ว เราไม่ควรเห็นภาวะซบเซาข้ามปีเช่นนี้

จากทิศทางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแรงดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 2.0 หรือลดลงมาเกือบร้อยละหนึ่งจากที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยองค์ประกอบสำคัญของจีดีพีที่หน่วงการขยายตัวก็คือ

การลงทุนซึ่งน่าจะหดตัวจากปีก่อนหน้ากว่าร้อยละ 5 ในขณะที่การส่งออกเองก็อาจไม่ออกมาดีอย่างที่หลายฝ่ายคาด จากข้อจำกัดบางประการ อาทิ ปัญหาด้านอุปทานของการส่งออกกุ้งจากโรคตายด่วน  ราคาสินค้าเกษตร (โดยเฉพาะข้าวและยางพารา) ซึ่งยังถูกกดดันตามราคาตลาดโลก ซ้ำเติมกลไกภาครัฐที่ยังปฏิบัติการได้ไม่เต็มที่จากการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมสะดุดลง
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ในขณะที่ความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (จีดีพีหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส) ยังคงมีความเป็นไปได้ต่ำ ภายใต้สเถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นบ้างแต่ยังไม่น่ากังวล อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะถูกตรึงไว้ที่ระดับค่อนข้างต่ำ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเอื้อต่อผู้ส่งออก

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์ข้างต้น อยู่บนสมมติฐานที่ว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ในช่วงไตรมาสสามของปี แต่หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในปีนี้ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีความเสี่ยงขาลงมากขึ้น ทำให้อาจเติบโตไม่ถึงร้อยละ 2 ก็เป็นได้

รายงานจีดีพีของสภาพัฒน์ ในครั้งนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญต่อภาคธุรกิจ และจะมีผลเชิงจิตวิทยาต่อนักลงทุนเช่นกัน เพราะนอกจากจีดีพีไตรมาสหนึ่งจะเป็นไตรมาสแรกที่ได้เห็นผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างเต็มๆ แล้ว ตัวเลขนี้จะฉายให้เห็นภาพเศรษฐกิจในไตรมาสที่เหลือของปีอีกด้วย จึงจำเป็นที่ต้องจับตาแถลงการณ์วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคมนี้ อย่างใกล้ชิด 







“ความเป็นเมือง” พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค




          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ เทรนด์ความเป็นเมืองกำลังขยายตัวสู่หลายจังหวัดในภูมิภาค  สามารถกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  นับเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น และเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค
จากการขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคซึ่งเป็นที่สนใจในขณะนี้ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนในภูมิภาค ทำให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น การบริโภค การพักอาศัยและรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับประชาชนเขตกรุงเทพฯ มากขึ้น นั่นคือ สังคมมี “ความเป็นเมือง” (Urbanization) มากขึ้นนั่นเอง ยิ่งเศรษฐกิจในพื้นที่ดีต่อเนื่อง ย่อมทำให้รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ความเป็นเมืองก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย จากข้อมูลเราพบว่า จังหวัดที่มีจุดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ จะมีความเป็นเมืองเร็วกว่าจังหวัดอื่นๆ จุดเด่นที่สำคัญคือ
จังหวัดท่องเที่ยว : (ภูเก็ต เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่) เศรษฐกิจมีความเป็นเมืองได้เร็วที่สุด เห็นได้จากปริมาณการค้าจังหวัดกลุ่มนี้เติบโตเฉลี่ย 5.44% ต่อปี เพราะเกิดการจ้างงานกระจายรายได้เป็นวงกว้าง เกิดธุรกิจจำนวนมากจากการท่องเที่ยว รายได้ประชาชนจึงเพิ่มขึ้นเร็ว 
จังหวัดฐานการผลิต : (ชลบุรี ระยอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี) ปริมาณการค้าเติบโตเฉลี่ย 5.37% ต่อปี จังหวัดกลุ่มนี้มีนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐาน จึงเกิดการจ้างงานจำนวนมากในพื้นที่ การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ
                                    
จังหวัดการค้าแถบชายแดน : (สงขลา อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย) เนื่องจากความได้เปรียบที่ตั้ง ทำให้เกิดการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าเติบโต 4.37%ต่อปี และน่าจะเติบโตต่อเนื่องจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่ยังมีทิศทางสดใส             
           
จังหวัดการค้าและการขนส่ง : (นครราชสีมา ขอนแก่น นครสวรรค์ พิษณุโลก) เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อจากจังหวัดขนาดเล็กที่อยู่รายรอบช่วยหนุนเศรษฐกิจจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าขยายตัวเฉลี่ย 4.06% ต่อปี การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

ขณะที่เขต กทม.และปริมณฑล มีการค้าเติบโตเฉลี่ย 4.22% ต่อปี ทั้งสี่กลุ่มจังหวัดจึงมีความเป็นเมืองเร็วมาก และบางจังหวัดอาจมีจุดเด่นหลายด้าน เช่น ชลบุรี ระยอง อยู่ในกลุ่มจังหวัดฐานการผลิต และยังมีการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่นอีกด้วย จึงทำให้การค้าขายคึกคักกว่าจังหวัดอื่น ระดับของความเป็นเมืองจึงเกิดเร็วขึ้นตามรายได้ของประชาชน กลุ่มที่ความเป็นเมืองใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น จังหวัดที่ก้าวสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นคือ สุราษฎร์ธานี กระบี่ อยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก

การก้าวสู่ความเป็นเมือง ถือเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและไลฟ์สไตล์ เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้น จึงต้องการสินค้าและบริการที่ยกระดับคุณภาพชีวิต และความสะดวกสบายมากขึ้นนั่นเอง ธุรกิจที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่จะมีรูปแบบของร้านค้าทันสมัย เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นธุรกิจ SME ในพื้นที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นและความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นพร้อมๆ กัน การเรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคและตอบสนองอย่างตรงจุด จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงจากธุรกิจขนาดใหญ่ได้และได้รับผลบวกเต็มๆ จากเทรนด์ ”ความเป็นเมือง”










TMBAM ชวน ‘จัดทัพลงทุน’ สู่ญี่ปุ่นและยุโรป คว้าโอกาสจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของทั้งสองภูมิภาค 



        ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว  ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศยังมีความผันผวนอยู่มาก  มุมมองการลงทุนในปีนี้ของ TMBAM จึงเป็นการชวนนักลงทุนไทยให้จัดทัพลงทุน โดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและคว้าโอกาสเพิ่มของผลตอบแทนด้วยการ สร้างมุมมองแบบนักลงทุนระดับโลก (Global Investor) ให้มากขึ้น โดยนักลงทุนจะยังลงทุนในประเทศอยู่ การกระจายการลงทุนบางส่วนไปยังภูมิภาคที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างเข้ม แข็งต่อเนื่อง อาทิ ญี่ปุ่น และ ยุโรป ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน”
      “จากแรงตอบรับที่ดีของกองทุนหุ้นญี่ปุ่นและยุโรปของเราที่เสนอขายไป เมื่อช่วงต้นปี ผนวกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องของทั้ง 2 ภูมิภาค  TMBAM จึงขอนำเสนอกองทุนหุ้นในภูมิภาคดังกล่าวอีกครั้ง ได้แก่  
    1. ‘กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2)’ ที่เน้นลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นผ่านทางกองทุนหลัก Nikkei 225 Exchange Traded Fund ซึ่งบริหารจัดการแบบเชิงรับ (Passive) โดย Nomura Asset Management  
    2. ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ ที่เน้นลงทุนในหุ้นยุโรปผ่านทางกองทุนหลัก Franklin European Growth Fund ซึ่งบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active) โดย Franklin Templeton Investments 
    3. ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ’ ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือน ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ พร้อมบวกด้วยสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้นักลงทุน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้  
    ทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ น้อยกว่า 90% ตลอดเวลา และกำหนดเปิดเสนอขายในระหว่างวันที่ 12 - 20 พฤษภาคม 2557 นี้”
      ดร.สมจินต์ กล่าวต่อว่า “ สำหรับ ‘กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2)’ นั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศในหุ้นของบริษัทฯ ชั้นนำที่พวกเรารู้จักกันเป็นอย่างดี และมีโอกาสเป็นลูกค้าเสมอๆ อาทิ Toyota, Honda, Nissan, Sony, Panasonic, Canon, Asahi, ANA, KAO, Sony, Toshiba, UNIQLO, และ 7-Eleven เป็นต้น ซึ่งคาดการณ์ว่าในช่วงหลังของปีนี้ บริษัทฯ เหล่านี้จะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากภาพรวมของการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ น่าจะขยายตัวต่อเนื่องนับจากปีที่แล้วจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาลญี่ปุ่นและการบริโภคภาคประชาชนที่ยังคงไว้ด้วยความแข็งแกร่ง”  
        นอกจากนั้น กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2) ยังออกแบบในลักษณะ Trigger Fund ซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้น ญี่ปุ่นอย่างสม่ำเสมอ กองทุนกำหนดเป้าหมายทำกำไรรวม 10% ใน 1 ปี ระหว่างทางเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 10.5 บาท (ร้อยละ 5) จะทำการรับซื้อคืนอัตโนมัติทรัพย์สินของกองทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน และเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 11 บาท บริษัทฯ จะสับเปลี่ยนทรัพย์สินของกองทุนที่เหลือทั้งจำนวนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย โดยเงื่อนไขเป็นไปตามหนังสือชี้ชวน
       “สำหรับภูมิภาคยุโรปนั้น เราเชื่อว่า ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ และ ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ’ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นยุโรปพื้นฐาน ดีซึ่งผ่านการคัดสรรจาก Franklin Templeton Investments ผู้นำด้านการบริหารการลงทุนระดับโลกซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหาร จัดการกว่า 8.8 แสนล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ  กองทุนหลัก Franklin European Growth Fund นี้มีแนวทางการบริหารเชิงรุก มีวิธีการคัดเลือกหุ้นที่มีวินัย และให้ความสำคัญกับหุ้นที่มีศักยภาพของกำไรที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องใน อนาคต กองทุนหลักนี้มีผลตอบแทนในอดีตที่น่าสนใจและการันตีด้วยการได้รับการจัด อันดับสูงสุดห้าดาวจากสถาบัน Morningstar (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557)” ดร.สมจินต์ กล่าวเสริม
        ผู้ที่สนใจลงทุนใน กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2), กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท,กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือสนใจการลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆภายใต้การจัดการของบริษัทฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนลูกค้าสัมพันธ์ TMBAM โทร 1725 หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัท ได้แก่ TMB ทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนการสนับสนุนการขาย และทางอินเตอร์เนตผ่านเวปไซด์ www.tmbam.com 






ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


      นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเฟลด์ (ซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ทีเอ็มบี และ นายพิภพ  กุนาศล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในข้อตกลงสินเชื่อระยะยาว โดยทีเอ็มบีให้การสนับสนุนสินเชื่อ จำนวนเงิน 500 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี เพื่อเสริมศักยภาพด้านการดำเนินธุรกิจแก่บริษัท ภัทรลิสซิ่ง 


ที่มา : https://www.tmbbank.com(ธนาคาร ทหารไทย )  วันที่ 30 เมษายน 2557





SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน 




       ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น

SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำ

ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ 

SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง 

แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น

นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า 

“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) 

ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า 

ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 

ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 

ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า 

ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้น

หากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ 

ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/

2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง

นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล 

มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่น

เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง 

ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME 

ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ

อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก 

ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 

3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออก

และการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส

นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 

1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 

ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด

อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ 

จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม 

แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME 

ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว 

แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ 

นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป 

เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ

ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว
      นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง

      นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่นเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME
ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆอย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออกและการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
      นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด
      อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว
แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ
ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว


ที่มา :  (การเงินการธนาคารออนไลน์) http://www.moneyandbanking.co.th (02/05/2014 14:48)






TMB ANALYTICS ประเมิน หมดโอกาสจะได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นในปี 2557 นี้  เหตุเศรษฐกิจซบเซาจากพิษการ



        ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมิน หมดโอกาสจะได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายขาขึ้นในปี 2557 นี้ เหตุเศรษฐกิจซบเซาจากพิษการเมือง แต่ในปีหน้าแนวโน้มสภาพคล่องตึงตัวมาแน่ หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ เตรียมเบรกนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย และเงินเฟ้อโลกที่กำลังจะกลับมาขาขึ้น
      ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. วันที่ 12 มีนาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติอย่างไม่เป็นเอกฉันท์ให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงร้อยละ 0.25 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.00 ในปัจจุบัน หวังลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะรายเล็กหรือ SMEs เพื่อช่วยพยุงเศรษฐกิจไทยหลังจากได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองซึ่งลากยาวมาครึ่งปีแล้ว ด้านธนาคารพาณิชย์ก็รับลูกโดยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของลูกค้าชั้นดี หรือ MLR ลงมาตามลำดับ พร้อมๆ กับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก
   คำถามที่ตามมาก็คือ ในภาวะที่นโยบายการเงินส่งผ่านไปยังธนาคารพาณิชย์ได้ดีเช่นนี้ กนง.จะตัดสินใจลดดอกเบี้ยลงอีกในการประชุมวันพุธที่ 23 เม.ย. หรือไม่ ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีมองว่ามีความเป็นไปได้ที่ กนง. จะเลือกลดดอกเบี้ยอีกภายในปีนี้เพื่อช่วยพยุงธุรกิจ หากทิศทางเศรษฐกิจชะลอลงเพิ่มเติม แต่ กนง. ยังไม่น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมในการประชุมครั้งนี้ เหตุผลเพราะว่า แม้การลดดอกเบี้ยจะช่วยลดภาระทางการเงิน แต่ปัญหาหลักของเศรษฐกิจไทยในตอนนี้นั้นไม่ใช่ต้นทุน แต่อยู่ที่รายได้จากการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถขายของได้เหมือนเก่า และกำลังซื้อของผู้บริโภคก็ยังอ่อนแรง เห็นได้จากปัญหาการจ่ายเงินจำนำข้าวให้ชาวนา ซึ่งเป็นผลกระทบทางตรงของปัญหาการเมือง หรือความไม่มั่นใจในภาวะเศรษฐกิจของผู้บริโภคซึ่งเป็นผลทางอ้อม ซ้ำเติมปัญหารายได้เกษตรกรที่ถูกกดดันโดยราคาสินค้าเกษตรอยู่แล้ว
      ตัวเลขการขยายตัวของยอดสินเชื่อในไตรมาสแรกของปีนี้ ที่ธนาคารพาณิชย์ทยอยแถลงออกมา ก็ล้วนมีแนวโน้มทรงตัวจากไตรมาสก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความต้องการสินเชื่อใหม่ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ สอดคล้องกับการชะลอการลงทุนของภาคธุรกิจซึ่งรอดูท่าทีของทิศทางการเมืองในประเทศ และบางส่วนก็มีการคาดการณ์ว่า หากมีรัฐบาลใหม่แล้วจะต้องมีการประกาศมาตรการทางการคลังเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ทำให้ธุรกิจส่วนนี้ยังรอให้ถึงช่วงเวลาดังกล่าว
   กลับมาที่ประเด็นแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงที่เหลือของปี เดิมทีศูนย์วิจัยหลายแห่ง รวมทั้งศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีเอง ได้ประเมินไว้ว่า เราอาจได้เห็นดอกเบี้ยนโยบายกลับมาเป็นขาขึ้นในช่วยปลายปี (ปรับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 2.50-3.00 ตามการสำรวจของบลูมเบิร์กเมื่อ พ.ย. ปีก่อน) แต่ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่อาจไม่ได้เห็นจนกระทั่งไตรมาสสี่ รวมถึงธุรกิจขนาดเล็กที่ยังต้องการการประคับประคอง ทำให้แนวโน้มดอกเบี้ยยังกลับมาเป็นขาขึ้นไม่ได้ ด้วย กนง. น่าจะตัดสินใจผ่อนคลายนโยบายการเงินไปอีกระยะหนึ่งภายหลังการเมืองมีสัญญาณคลี่คลาย คล้ายการดำเนินงานของธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ที่เลือกคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับต่ำ  แม้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ส่งสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่องก็ตาม
      อย่างไรก็ดี ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 จะมีหลายปัจจัยที่กดดันให้นโยบายการเงินของไทยเข้าสู่ภาวะปกติ (Normalization) จากที่ผ่อนคลายมาเป็นระยะเวลาพอสมควรในช่วงสองสามปีที่ผ่านมานี้ ไม่ว่าจะแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่จะเร่งตัวขึ้นตามวัฏจักรเศรษฐกิจโลก โมเมนตัมของการขยายตัวในประเทศกลุ่มพัฒนาแล้วที่จะแข็งแกร่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดคือการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของเฟดเป็นครั้งแรกตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ซับไพรม์ ส่งผลให้สภาวะสภาพคล่องทั่วโลกกลับสู่แนวโน้มตึงตัว ในสถานการณ์เช่นนี้ หาก กนง. ยังมีความจำเป็นต้องลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยอยู่ นอกจากจะสร้างความเสี่ยงที่อัตราเงินเฟ้อในประเทศอาจทะลุกรอบนโยบายแล้ว ยังมีความเป็นไปได้ที่เงินทุนข้ามชาติจะไหลออกจากไทย กระทบเสถียรภาพในตลาดการเงิน สร้างผลลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของไทยอีกต่อหนึ่ง ... ก็ได้แต่หวังว่าเวลานั้นจะไม่มาถึง <

ที่มา : (การเงินการธนาคารออนไลน์) http://www.moneyandbanking.co.th (21/04/2014 15:40)



ทีเอ็มบี ผนึกกำลัง 3 บลจ. ชั้นนำ พานักลงทุนไปลงทุนรอบโลก พร้อมรับโบนัสแห่งการลงทุนเป็นเงินคืนสูงสุด



      ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับ บลจ.ทหารไทย บลจ.ยูโอบี และ บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล ผนึกกำลังกันเปิดโอกาสให้นักลงทุนมีความสะดวกและเพิ่มตัวเลือกในการลงทุนที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ด้วยการออกโปรโมชั่นพิเศษสำหรับผู้ที่ลงทุนในกองทุนรวมคุณภาพของทั้ง 3 บลจ. ที่ผ่านการคัดสรรมาอย่างดีจำนวน 13 กองทุน โดยทุกๆ เงินลงทุน 100,000 บาท จะได้รับเงินคืน 100 บาท และเมื่อมีเงินลงทุนสะสมรวมตั้งแต่ 5 ล้านบาท เงินคืนที่ได้รับจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ซึ่งทุก 100,000 บาท ที่ลงทุน จะได้รับเงินคืน 200 บาท เข้าบัญชีเงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง โดยคำนวณจากยอดเงินลงทุนสะสมตั้งแต่ 1 เมย.– 31 พ.ค. ศกนี้
     นางสาวกมลวรรณ  อิ่มฤทัยเจริญโชค เจ้าหน้าที่บริหารผลิตภัณฑ์การลงทุน ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “จากการร่วมมือกันระหว่าง ทีเอ็มบี บลจ.ทหารไทย บลจ.ยูโอบี และพันธมิตรใหม่อย่าง บลจ.ซีไอเอ็มบี พรินซิเพิล ที่เปิดให้นักลงทุนสามารถทำการซื้อขายกองทุนรวมผ่านทีเอ็มบีได้ ด้วยการเพิ่มทางเลือกในการลงทุนและอำนวยความสะดวกในการซื้อขายกองทุนผ่านสาขาของทีเอ็มบีกว่า 450 สาขาทั่วประเทศ เพื่อ Make THE Difference ทำให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดียิ่งขึ้น สะดวกมากขึ้น และเพื่อเป็นการฉลองความร่วมมือที่ดีดังกล่าว ทีเอ็มบีจึงมอบโปรโมชั่นพิเศษให้เป็นโบนัสสำหรับนักลงทุนที่ลงทุนกับทีเอ็มบี ในระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2557 โดยได้คัดเลือกกองทุนที่น่าสนใจและมีคุณภาพ จำนวน 13 กองทุน มาจัดโปรโมชั่น โดยทุกๆ เงินลงทุน 100,000 บาท จะได้รับเงินคืน (Cash back) จำนวน 100 บาท และเมื่อเงินลงทุนสะสมรวมทั้งหมดตั้งแต่ 5 ล้านบาท ผู้ลงทุนจะได้รับเงินคืนเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ 200 บาท ต่อเงินลงทุนสะสมทุกๆ 100,000 บาท รวมรับเงินคืนสูงสุดถึงท่านละ 100,000 บาท ซึ่งธนาคารจะโอนเงินคืนเข้าบัญชีเงินฝากไม่ประจำ ‘ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง’ (No Fixed) บัญชีเงินฝากที่ให้ดอกสูง ถอนและฝากเพิ่มเมื่อไรก็ได้ เหมาะกับทุกไลฟ์สไตล์ของลูกค้า”  
     นางสาวกมลวรรณ  อิ่มฤทัยเจริญโชค กล่าวเพิ่มเติมว่า “กองทุนทั้ง 13 กองทุน ได้แก่ กองทุนเปิดทหารไทย US500 Equity Index ที่ลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ,กองทุนเปิด ยูโร ไฮดิวิเดนด์ ที่เน้นลงทุนในหุ้นปันผลของตลาดหุ้นยุโรป, กองทุนเปิด ไทย แวลู โฟกัส อิควิตี้ ปันผล ที่เน้นลงทุนในหุ้นไทยที่มีพื้นฐานดี,กองทุนเปิดทหารไทย Global Bond Fund, กองทุนเปิดทหารไทย โกลบอล บอนด์ ปันผล, กลุ่มกองทุนเปิดทหารไทยจัดทัพลงทุน ระยะสั้น, ระยะกลาง, ระยะยาว เน้นลงทุนในตราสารแห่งทุน ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน ตราสารแห่งหนี้ และหรือเงินฝาก รวมทั้งหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่นทั้งในและต่างประเทศ, กองทุนเปิด เจแปน สมอล แอนด์ มิด แคป, กองทุนเปิด ไทย บาลานซ์ฟันด์          เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 35% และหุ้น 65%, กองทุนเปิด ไทย มิกซ์ 15/85 ปันผล        เน้นลงทุนในตราสารหนี้ 85% และหุ้น 15%, กองทุน US High Yield Bond Fund*, กองทุนเปิดซีแพม โกลบอล สมอล แคป อิควิตี้*   โดยทุกกองทุนที่เลือกมานี้จะมีการลงทุนในหลักทรัพย์หลากหลายประเภทแตกต่างกันไป เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกลงทุนโดยสามารถกระจายความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพพอร์ตลงทุนของตัวเองด้วย” 
   ทั้งนี้ นักลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อซื้อหน่วยลงทุนหรือและรับหนังสือชี้ชวนโครงการข้อผูกพันได้และสอบถามรายละเอียโปรโมชั่นเพิ่มเติมได้ที่ ทีเอ็มบี ทุกสาขาทั่วประเทศ



  • TMB ชวน SME ถอนพิษศก.เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการรวมทั้งซัพพลาย




  •             นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าว ในงานมอบประกาศนียบัตรฉลองความสำเร็จของโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain รุ่นที่ 1 ว่า จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม (TMB – SME Sentiment Index) พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อมในกรุงเทพฯ ได้มีการลดลงอย่างมีนัยยะ โดยลดลงจาก 42.6% ณ ไตรมาส 4/2556 เป็น 35.9% ณ ไตรมาส 1/2557 โดยผู้ประกอบการมีมุมมองว่า รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ไม่เพิ่มจากปัจจุบัน และต้นทุนจะสูงขึ้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อทำให้ต้นทุนของตัวเองลดลง และเน้นเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจตลอดซัพพลายเชน ก็จะเป็นแนวทางที่ทำให้เอสเอ็มอีอยู่รอดและแข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว

    ทีเอ็มบีในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินได้นำหลักการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ อย่าง Lean Six Sigma มาใช้อย่างเต็มรูปแบบทั้งองค์กรตั้งแต่ปี 2553 ทำให้สามารถให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ขณะที่ต้นทุนลดลง

    "ทีเอ็มบีเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยนอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพของแต่ละบริษัทแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพตลอดซัพพลายเชน โดยการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำนั้น จะส่งผลให้การเพิ่มประสิทธิภาพได้ผลมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพที่ทำกันเองภายในแต่ละบริษัทมาก ซึ่งแต่ละบริษัทควรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าทำอย่างไรเพื่อช่วยให้คู่ค้าของคุณประสบความสำเร็จ เพราะความสำเร็จของคู่ค้าทั้งซัพพลายเชน ก็คือความสำเร็จของบริษัทคุณนั่นเอง"นายบุญทักษ์ กล่าว
    ทีเอ็มบีได้ริเริ่มโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain เมื่อปลายปี 2556 โดยจะเน้นการเรียนรู้จริง นำไปใช้ได้จริง เชื่อมโยงการพัฒนาแบบซัพพลายเชน และสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน ต่อยอดด้วยกิจกรรมเสริมความรู้และการให้คำปรึกษา สำหรับโครงการรุ่นที่ 1 ที่เพิ่งปิดการอบรมไป ได้รับฟีดแบ็คจากผู้เข้าอบรมที่ดีมาก โดยเฉพาะความรู้และเนื้อหาจากการอบรมที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนได้จริง
    นายนิรันดร์ แสงสุขเอี่ยม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท ศิริคุณ ซีฟู้ด หนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า สิ่งที่ได้จากการเรียน สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ ทุกครั้งที่มาอบรม พอกลับไปพนักงานที่บริษัทจะมีงานทำเพิ่มตลอดเวลา ผมจะเอาเรื่องที่เรียนไปลองใช้กับที่บริษัทจริงๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาจับต้องได้ และคิดว่ายังต้องทำต่อไปเพราะว่าการเพิ่มประสิทธิภาพคงสามารถพัฒนาได้อีกหลายส่วน อย่างในส่วนของซัพพลายเชนเองเราก็มีการรวมกลุ่มกับชาวประมงเพื่อพูดคุยถึง spec สินค้าที่ต้องการ แล้วตั้งกลุ่มสื่อสารและช่วยเหลือกัน ทำให้สื่อสารได้รวดเร็ว พร้อมได้วัตถุดิบตามที่ต้องการ ผลที่ออกมาก็คือ win-win กันทุกฝ่าย
    นายกุลวัชร ภูริชยวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิ ออริจินัล ฟาร์ม จำกัด ผู้เข้าร่วมโครงการอีกรายหนึ่งให้ข้อคิดว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของซัพพลายเชนมีความสำคัญมาก เราได้มีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์มากขึ้น เพื่อจัดทำแผนสั่งซื้อระยะยาว เราจะมีการอัพเดทกันทุกเดือน มีการประมาณการจากฝั่งโอเปอเรชั่นที่ดูยอดขาย ซึ่งจะทำให้ลดความผกผันของราคาได้มากขึ้น เราจึงเห็นราคาได้ในระยะยาวพอสมควร
    "ในโอกาสการจบหลักสูตรและมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ขณะนี้ทีมเอ็มบีได้เปิดรับสมัคร TMB  Efficiency Improvement for Supply Chain  รุ่นที่ 2 สำหรับอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 100 บริษัท ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจส่งใบสมัครกว่า 200 ราย ผู้สนใจสามารถสมัครได้จนถึงวันที่ 28 มีนาคมนี้ นอกจากนี้ธนาคารยังมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีหลัง 2557 นี้จะเปิดรับอีก 3  รุ่น รวมเป็น 5  รุ่น เพื่อสร้างซัพพลายเชนคอมมูนิตี้ของประเทศ"บุญทักษ์ กล่าว
  • ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 24 มีนาคม 2557 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น