กิจกรรมระหว่างเรียน


การตลาดของธนาคารทหารไทย TMB

1. กลยุทธ์การสร้างความแตกต่างของTMB  
           ธนาคาร TMB เป็นธนาคารในขนาดกลาง ที่มีวิสัยทัศน์ที่ใช้ในการกำหนดทิศทางด้วยการสร้างความแตกต่าง (Make a Difference) การสร้างความแตกต่าง คือการสร้างที่ไม่เหมือนคนอื่นเพื่อให้ดูเท่ห์แต่เป็นการสร้างอย่างสร้างสรรค์ โดยการสร้างความต่างอย่างสร้างสรรค์ของ  TMB  เริ่มจากการนำลูกค้าเป็นตัวตั้ง (Customer Organization) และคิดค้นผลิตภัณฑ์และบริการในมิติที่แตกต่างเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าให้ได้ดีที่สุด เกิดผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องเริ่มจากบุคลากรในองค์กรที่มีต่อความต้องการของลูกค้า ว่ามีลูกค้ากลุ่มไหนที่ยังไม่ได้รับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ดีเพียงพอ หรือยังพบว่ามีปัญหาในการดำเนินธุรกิจ เพื่อวิเคราะห์และประเมินถึงความเป็นไปได้ในการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบสนองต่อลูกค้า และสิ่งนี้ก็จะเป็นช่องทางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่แตกต่างนอกจากที่ TMB จะต้องตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการของลูกค้าแล้ว TMB ยังต้องคำนึงถึงวงจรระบบในธุรกิจ (Supply Chain) ของลูกค้ารายนั้นๆ อีกด้วย กล่าวคือ ใน 1 ธุรกิจจะต้องมีการผู้ค้าและผู้ซื้อ เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ ก่อนจะผลิตเป็นรถยนต์ที่สมบูรณ์ได้ ต้องมีการซื้อวัตถุดิบเพื่อนำมาประกอบรถยนต์ เมื่อประกอบสำเร็จจึงนำขายต่อไป ดังนั้นการที่จะขับเคลื่อนให้ธุรกิจก้าวไปข้างหน้าได้ไม่ใช่แค่ธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งหรือธุรกิจเดียว แต่ต้องดูแลทั้งวงจรธุรกิจ TMB มีหน้าที่ดูแลว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของลูกค้าดีขึ้น มีชีวิตที่สะดวกมากขึ้น สามารถดูแลธุรกิจได้ง่ายขึ้น แรกเริ่มของกระบวนการคือเมื่อ TMBได้ทราบเป้าหมายของลูกค้าว่าเป็นเช่นใดแล้ว TMB จะเข้าไปศึกษาในระบบธุรกิจนั้นก่อน มองว่าธุรกิจลูกค้าเป็นอย่างไร และวิเคราะห์สร้างสมมติฐานขึ้นมา หลังจากนั้นก็ทำการทดสอบสมมติฐานว่าจริงเท็จเช่นใด ถูกต้องหรือไม่ เมื่อ TMB ได้ข้อมูลและประเด็นที่มากเพียงพอ จึงจะนำข้อมูลที่วิเคราะห์ได้ไปนำเสนอ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เมื่อเสร็จสิ้นจากส่วนนี้สิ่งที่ TMB ต้องดำเนินการต่อไปคือ
วงจรในธุรกิจของลูกค้า หากจะให้ธุรกิจเติบโตได้ดี วงจรธุรกิจต้องมีความแข็งแรงทั้งระบบ ดังนั้น TMB จะต้องวิเคราะห์และประเมินค่าของวงจรธุรกิจของลูกค้าเช่นเดียวกับที่วิเคราะห์และประเมินธุรกิจลูกค้า หลังจากนั้นจึงสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์  


  1.1 ผลิตภัณฑ์ของธนาคารธนาคารแบ่งกลุ่มลูกค้าเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ ลูกค้าบุคคลลูกค้า SMEลูกค้าองค์กร และมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์  ที่ตอบสนองแก่ความต้องการของกลุ่มลูกค้านั้นๆ ดังนี้

ลูกค้า
รูปแบบผลิตภัณฑ์
ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่หรือ
(กลุ่มลูกค้าบุคคล)
·       เป็นธนาคารที่ให้บริการธุรกรรมทางการเงินที่ลูกค้าธุรกิจรายใหญ่
เลือกใช้บริการ โดยให้บริการธุรกรรมทางการเงินที่ดีที่สุดผ่านระบบ Supply Chain Solutions และบริการธุรกรรมทางการค้า
·       เป็นธนาคารคู่ค้าที่น่าเชื่อถือให้กับลูกค้า โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์
การบริการ และช่องทางต่างๆ ที่ช่วยสร้างคุณค่าให้แก่ลูกค้า เพื่อให้ได้รับส่วนแบ่งการใช้จ่ายเงิน (share of wallet) ของลูกค้าเพิ่มขึ้น เช่น
-บัญชีเงินฝาก ออมทรัพย์ฟรีค่าธรรมเนียมฝาก ถอน โอน ได้ตลอดเวลาผ่านทีเอ็มบี อิเล็กทรอนิกส์ แบงก์กิ้ง ไม่ว่ายจะเป็น ตู้ ATM ,TMB ADM ,TMB M-Banking และอื่นๆ -บัญชี TMB ธุรกรรมทำฟรี หรือTMB โน ฟีที่นำมาตอบสนองความต้องการการทำธุรกรรมของลูกค้าที่มีมากขึ้นผ่านบัตรเดบิต ที่ให้สิทธิการทำธุรกรรมฟรี 10-20 ครั้งต่อเดือนเมื่อทำธุรกรรมฝากเงิน กดเงิน จ่ายบิล โอนเงิน เติมเงิน ผ่านช่องทางทีเอ็มบี อิเล็กทรอนิกส์แบงก์กิ้ง (เครื่อง ATM, เครื่องฝากเงิน TMB, TMB อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง, TMB M-Banking, TMB โฟนแบงก์กิ้ง 1558) ผ่านบัตรเดบิต
กลุ่มลูกค้า SME  
·       เป็นธนาคารผู้นำด้านธุรกรรมทางการเงินสำหรับลูกค้า SME
·       เป็นหุ้นส่วนทางธุรกิจที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า SME โดยมุ่งมั่นที่จะทำความเข้าใจและตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เช่น
-ฟรีค่าธรรมเนียมการจ่ายภาษีเพื่อธุรกิจโดยการทำธุรกรรมผ่าน เคาร์เตอร์สาขา, ATM, TMB Direct ทั่วประเทศ
กลุ่มลูกค้าองค์กร
-บริการหักบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ (TMB Direct Debit)
 ซึ่งเป็นบริการช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าในการชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าประกัน ชำระค่าสาธารณูปโภค โดยไม่ต้องต้องเสียเวลายืนเข้าแถวเพื่อรอชำระค่าบริการ 
          
1.2 การให้บริการแก่ลูกค้าของธนาคาร การให้บริการที่แตกต่างของธนาคารผ่านช่องทางหารให้บริการโดยเน้นการทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ในระบบอิเล็กทรอนิกส์แบงก์กิ้ง ไม่ว่าจะเป็น                           
-  ทีเอ็มบี เอทีเอ็ม                                                                                                                                                                
-  ทีเอ็มบี อินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง                                                                                                                                        
-  ทีเอ็มบี M-Banking                                                                                                                                                         
-   ทีเอ็มบีโฟนแบงก์กิ้ง 1558                                                                                                                                              
-   บริการแจ้งเตือนทาง SMS                                                                                                                                               
-  บริการแจ้งเตือนอัตโนมัติ ทีเอ็มบี บี๊บ แอนด์ บิล                                                                                                      
เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว ในการทำธุรกรรมต่างๆ แก่ลูกค้ามากขึ้น นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับสถานที่การให้บริการโดยมีช่องทางหลักในการให้บริการลูกค้าของธนาคารดังนี้
1.  สาขาและสำนักงานย่อยในประเทศ
2.  สำนักงานแลกเปลี่ยนเงิน
3.  ศูนย์ธุรกิจลูกค้าผู้ประกอบการ
4.  ศูนย์บริการธุรกิจ SME
5.  บริการจ่ายเช็ค
6.  สาขาในต่างประเทศ 2 สาขา                                                                                          
7.  TMB Corporate Call Center #02 643-7000
8.  ช่องทางการให้บริการลูกค้าธุรกิจและซัพพลายเชน

 2. กลยุทธ์การตลาดของธนาคาร                                                
          ธนาคารได้กำหนดเป้าหมายทางกลยุทธ์ 5 ประการที่จะช่วยผลักดันให้ทีเอ็มบีบรรลุเป้าหมาย ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากกลยุทธ์การใช้เงินฝากเป็นตัวนำ (Deposit-Led Strategy) ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ปี 2551 ดังนี้  
          1. มีความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทีเอ็มบีมุ่งเน้นความสำคัญในการสร้างความเข้าใจลูกค้าอย่างลึกซึ้ง ทั้งในระดับบุคคลและระดับชุมชน (รวมถึงความเข้าใจในระหว่างกลุ่มลูกค้าซึ่งจะทาให้ธนาคารสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีนวัตกรรมที่ดีและตรงตามความต้องการของลูกค้า                                                        
          2. สร้างฐานเงินฝากคุณภาพ ทีเอ็มบีมุ่งมั่นที่จะเพิ่มจานวนเงินฝากที่มีคุณภาพ พร้อมทั้งบริหารต้นทุนเงินฝากให้ใกล้เคียงกับธนาคารชั้นนาที่เป็นคู่แข่ง การเพิ่มจานวนเงินฝากคุณภาพจะช่วยให้ธนาคารสร้างความสัมพันธ์ใหม่กับลูกค้าขณะเดียวกันเงินฝากที่มีคุณภาพยังสามารถนาไปปล่อยสินเชื่อหรือลงทุนเงินในสินทรัพย์ได้ซึ่งทาให้ธนาคารมีผลกาไรที่ยั่งยืน                      
          3. สร้างความเป็นเลิศด้านธุรกรรมทางการเงิน ทีเอ็มบีให้ความสำคัญกับธุรกรรมทางการเงินเนื่องจากเป็นสิ่งที่สนองตอบความต้องการพื้นฐานด้านธนาคารของลูกค้าทั้งหมด และยังช่วยให้ธนาคารมีความใกล้ชิดกับลูกค้าและเข้าใจลูกค้ามากขึ้น การมองเห็นการทาธุรกรรมของลูกค้าได้ดีขึ้นจะช่วยให้ธนาคารมีการบริหารสภาพคล่อง การบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น และมีต้นทุนในการกู้ยืม (Funding cost) ลดลง สาหรับทีเอ็มบี ความเป็นเลิศด้านธุรกรรมทางการเงินยังหมายถึงการให้บริการลูกค้าด้วยวิธีการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด                
          4. ใช้เงินทุนและบริหารสภาพคล่องมีประสิทธิภาพ ทีเอ็มบีมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ที่จะบรรลุเป้าหมายกำไรสุทธิตามความคาดหวังของนักลงทุน โดยวางเป้าหมายที่จะบรรลุอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้นที่ร้อยละ 14 ภายในปี 2557 เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว ธนาคารได้มุ่งเน้นเพิ่มจานวนลูกค้าในกลุ่มที่มีอัตราผลตอบแทนที่ปรับค่าความเสี่ยงแล้ว(Risk-adjusted return) ที่ดีกว่า อาทิเช่น กลุ่ม SME พร้อมกับบริหารสภาพคล่องในเชิงรุกและเพิ่มส่วนแบ่งการใช้จ่ายเงินของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Share of Wallet) โดยการ cross-selling และการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ลูกค้าปัจจุบัน                    
          5. บริหารต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ธนาคารเติบโตขึ้น ธนาคารจะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการทางานทั้งทางด้านรูปแบบของการประกอบธุรกิจ (Business Model) และกระบวนการทางาน (Operational Process) ทุกภาคส่วนของธนาคารมีส่วนสำคัญในการปรับปรุงประสิทธิภาพในการทางานผ่านโครงการ Lean Organization และ Lean Six Sigma โดยการสร้างและนำเสนอผลิตภัณฑ์เพื่อตอบสนองการแข่งขันของตลาดและความต้องการของลูกค้า ดังนี้
  
      
กลุ่มลูกค้า
กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่
        โดยเน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินและพัฒนาความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เพื่อสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถที่จะสร้างความเจริญเติบโตกับธุรกิจ และมีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง โดยมีการบริหารการเงินที่มีประสิทธิภาพ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับสากล
      ผลิตภัณฑ์
  - การให้บริการด้านธุรกรรมทางการเงิน (Transactional
Banking)                                                                          
  - การจัดหาเงินทุนในระยะกลางถึงระยะยาว การให้สินเชื่อเพื่อเป็นทุนหมุนเวียน การบริหารความเสี่ยงของอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์                                                                                              
  - สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจการค้า (Supply Chain Solution)                                                      
 - การจัดการสินเชื่อร่วม (Syndicated Loans)                                                             
 - บริการออกหนังสือค้ำประกัน บริการธุรกรรมระหว่างประเทศ (Trade Finance)                                                          
- บริการบริหารเงินสด (Cash management) เช่น
สินเชื่อ Corporate Finance และสินเชื่อโครงการ 
สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน (Working Capital) 
การให้บริการตัวแทนและบริการธุรกิจหลักทรัพย์ 

-มีการคำปรึกษาในเรื่องสินเชื่อธุรกิจและบริการทางด้านการเงินให้กับลูกค้าSME                                                      
 -มีศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ TMB SME (TMBSME Relationship Management Center) ให้การดูแลลูกค้าผู้ประกอบการขนาดเล็กที่มีวงเงินสินเชื่อกับธนาคารcและนำเสนอผลิตภัณฑ์ดังนี้
สินเชื่อ 3 เท่า 3 ก๊อก 
สินเชื่อโอดี ไม่ต้องใช้หลักประกัน (TMB SME O/D No Asset) สินเชื่อวงเงินหมุนเวียน 
สินเชื่อเครือข่ายธุรกิจการค้า (TMB SME Supply Chain Financing) 
ผลิตภัณฑ์ด้านธุรกรรมทางการเงิน
1. ผลิตภัณฑ์บัญชี (Account Management) 
ผลิตภัณฑ์ เงินฝากกระแสรายวัน
ผลิตภัณฑ์ เงินฝากออมทรัพย์
ผลิตภัณฑ์ เงินฝากเพื่อธุรกิจ “ทีเอ็มบี วันแบงก์ วันแอคเค้าท์”
ผลิตภัณฑ์ เงินฝากประจา
ผลิตภัณฑ์ เงินฝากเงินตราต่างประเทศ
2. ผลิตภัณฑ์ธุรกรรมขารับ (Collection Services) 
ผลิตภัณฑ์ Cheque Outsourcing
ผลิตภัณฑ์ Payroll
ผลิตภัณฑ์ Direct Credit
ผลิตภัณฑ์บัตรเงินคล่องเพื่อผู้ซื้อสาหรับบัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (TMB Supply Chain Card)
ผลิตภัณฑ์ โอนเงินระหว่างธนาคาร (SMART)
ผลิตภัณฑ์ โอนเงินระหว่างธนาคาร (BAHTNET)
3. ผลิตภัณฑ์ธุรกรรมขาจ่าย (Payment Services) 
ผลิตภัณฑ์เช็คเรียกเก็บประเภทของเช็คที่รับเรียกเก็บ ช็คเคลียริ่ง (Local Clearing Cheque) ,เช็คต่างจังหวัด (BC) , 
เช็คลงวันที่ล่วงหน้า (Post-dated Cheque: PDC) , 
ผลิตภัณฑ์ TMB One Bank One Day 
ผลิตภัณฑ์ Bill Payment
ผลิตภัณฑ์ Direct Debit
ผลิตภัณฑ์ Cash Collection and Delivery

กลุ่มธุรกิจรายย่อย
          โดยเน้นการทำธุรกรรมผ่านเครือข่ายสาขาของธนาคารกว่า 460 แห่ง และตู้เอทีเอ็มจำนวนกว่า 2,300 เครื่อง ทั่วประเทศ
1.  ผลิตภัณฑ์เงินฝาก 
บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (Savings Account)
บัญชีเงินฝากกระแสรายวัน (Current           Account)                                                                   
บัญชีเงินฝากไม่ประจำ (No Fixed Account) 
บัญชีเงินฝากประจำ (Term Deposits) 
2.  ผลิตภัณฑ์สินเชื่อรายย่อย 
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทมีหลักประกัน (Secured Loan)
ผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทบุคคลไม่มีหลักประกัน (Unsecured Loan)

3.  ช่องทางการจัดจำหน่ายของธนาคาร                       
1. สาขาในประเทศ สาขาทั่วประเทศ จำนวน 458 แห่ง โดยตั้งอยู่ในกรุงเทพ 210 สาขา ในภูมิภาค 243 สาขา และ Movable Booth 1 แห่ง โดยมีสาขาเปิดใหม่ 3 สาขา ได้แก่
 - สาขาตลาดไท
สาขาบิ๊กซี พระราม 4
สาขาโรบินสันสระบุรี
และมีการปิดสาขาจำนวน 12 สาขา ได้แก่
สาขาจังซีลอน ภูเก็ต - สาขาวงเวียนใหญ่
สาขาราชวงศ์ - สาขาถนนแจ้งวัฒนะ
สาขาสุวรรณภูมิเขตปลอดอากร - สาขาอ่าวนางกระบี่
สาขาโบ๊เบ๊ - สาขาถนนรัตนาธิเบศร์
สาขาแคราย - สาขาถนนทหาร อุดรธานี
สาขามหาวิทยาลัยสยาม - สาขารอยัลการ์เด้นฯ
2.  สาขาในต่างประเทศ
สาขาในหมู่เกาะเคย์แมน
          สาขาของธนาคารในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน 
          ·สานักงานเขตลูกค้าธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME Zone Offices)

4.  การส่งเสริมการตลาดของธนาคาร
                โปรโมชั่นของธนาคาร สำหรับกลุ่มลูกค้าแต่ละกลุ่ม เช่น







การทำการตลาดแบบใหม่ผ่านการทำเพื่อสังคม


 



                ตลอดระยะเวลากว่า 50 ปีที่ TMB ดำเนินธุรกิจด้วยหลักธรรมาภิบาล และเติบโตโดยไม่ละทิ้งการตอบแทนสังคม ด้วยมิตรภาพเชื่อม ด้วยการเชื่อมประสานองค์กรและชุมชนผ่านโครงการและกิจกรรมต่างๆ และมีบทบาทในการให้ความร่วมมือแก่ภาครัฐและองค์กรระหว่างประเทศ ในการบริหารโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้วยศักยภาพที่พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาในการวางแผนการลงทุน และสนับสนุนแหล่งเงินทุนแก่โครงการอนุรักษ์พลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม โครงการเพื่อสังคม ตลอดจนพัฒนาบริการเสริมใหม่ๆที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

          รายงานประจำปี 2256


 




กิจกรรมแสดงละคร









 















อัตราดอกเบี้ย TMBBANK

 ดอกเบี้ย คือ

  • ผลตอบแทนที่ผู้ฝากเงินได้รับจากการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินฝาก
  • ผลตอบแทนที่ผู้ให้สินเชื่อได้รับจากผู้ขอสินเชื่อ ซึ่งในกรณีนี้จะหมายถึง สถาบันการเงิน และผู้ประกอบธุรกิจการเงินที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) หรือที่เรียกว่า ดอกเบี้ยเงินกู้
  • ผลตอบแทนอาจอยู่ในรูปของตัวเงิน ทรัพย์สิน หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่คิดคำนวณเป็นเงินได้ เช่น ธนาคารพาณิชย์แจกของสมนาคุณให้กับลูกค้า อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นต้น เพื่อจูงใจให้ฝากเงินไว้กับธนาคาร ดังนั้น การคำนวณดอกเบี้ยที่ได้รับแท้จริงต้องรวมมูลค่าของสมนาคุณด้วย


อัตราต่างๆ อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก










อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก คือ
        อัตราดอกเบี้ยร้อยละต่อปีที่สถาบันการเงินจ่ายให้กับผู้ฝากเงิน เพื่อเป็นค่าตอบแทนที่ผู้ฝากนำเงินมาเปิดบัญชีเงินฝากไว้กับสถาบันการเงิน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีหลายประเภท หลายอัตรา โดยขึ้นกับระยะเวลาการฝากเงินและเงื่อนไขการถอนเงิน เช่น อัตราดอกเบี้ยของบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ที่สามารถถอนเงินได้ตลอดเวลา จึงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน เป็นต้น



































ทั้งนี้ เมื่อท่านเลือกจะบริหารเงินโดยการฝากเงิน ควรเลือกประเภทการฝากเงินที่เหมาะสมกับ                 รูปแบบการใช้ชีวิต (Lifestyle) ของท่าน เพื่อที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการฝากเงินนั้น  




                                                                
อัตราต่างๆ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้

มีผลบังคับใช้ วันที่ 18 มีนาคม 2557




อัตราดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
     หมายถึง อัตราดอกเบี้ยลอยตัวที่ธนาคารพาณิชย์ใช้อ้างอิงในการเรียกเก็บดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อจากลูกค้า ได้แก่
1.      MLR (Minimum Loan Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทเงินกู้แบบมีระยะเวลา เช่น มีประวัติการเงินที่ดี มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างเพียงพอ โดยส่วนใหญ่ใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่มีกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน เช่น สินเชื่อเพื่อการประกอบธุรกิจ
2.      MOR (Minimum Overdraft Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทเงินเบิกเกินบัญชี
3.      MRR (Minimum Retail Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบัตรเครดิต เป็นต้น
4.      CPR (Consumer Product Rate) หมายถึง อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับสินเชื่อบุคคลที่ธนาคารประกาศกำหนด ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวและอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามที่ธนาคารประกาศ หากอัตราดอกเบี้ยและวิธีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยในสัญญานี้ขัดต่อกฎหมาย ประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ถือเอาอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารอาจเรียกเอาจากผู้กู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่กฎหมายประกาศ กฎกระทรวง หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องอนุญาตเป็นอัตราบังคับใช้ตามสัญญาข้อนี้ ณ วันที่ มกราคม พ.ศ.2549 อัตราดอกเบี้ย CPR = 18%  ต่อปี


    การเลือกดอกเบี้ยเงินให้สินเชื่อ (ดอกเบี้ยอ้างอิง)
>  พิจารณาความถูก - แพง ของอัตราดอกเบี้ยของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง
>  ดูความผันผวนของอัตราดอกเบี้ยย้อนหลัง โดยควรเลือกประเภทที่มีความผันผวนน้อย เพราะ สามารถบริหารจัดการหนี้ได้ง่ายกว่า

>  พิจารณาความมั่นคงของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง เช่น ฐานะเงินกองทุน อัตราส่วนกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และปริมาณเงินสำรอง เป็นต้น


ที่มา :  https://www.tmbbank.com และ www.bot.or.th 


    

กรณีศึกษารูปแบบโครงสร้างธนาคารทหารไทย



1.รูปแบบการจัดองค์การธนาคารทหารไทย TMB

      โครงสร้างองค์การแบบแมททริกซ์ (Matrix  Structure) เป็นการจัดองค์การโดยใช้ทีมงานซ้อนหน้าที่ และหน่วยงานต่างๆขององค์กรหรือการจัดการองค์การที่ผู้ปฏิบัติงานมีนายสองคน หรือต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาสองคน เพราะ องค์การดังกล่าวต้องทำงานหลากหลาย ข้ามหน่วยงานจำเป็นต้องมีความยืดหยุ่นและในสภาพแวดล้อมที่ยุ่งยากซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน)  ( “ธนาคาร”) ได้ดำเนินกิจการโดยยึดหลักปฏิบัติในการกำกับดูแลกิจการที่ดีตามมาตรฐานสากลในระดับสูง ซึ่งหมายถึง การที่ธนาคารมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส มุ่งเน้นความซื่อสัตย์ สุจริต ปราศจากการคอร์รัปชั่น โดยทุกฝ่ายสามารถตรวจสอบการทำงานของธนาคารได้ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จึงกล่าวได้ว่าแนวการกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผู้ถือหุ้นและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนแก่ธนาคารและธนาคารทหารไทยเองมีนโยบายการกำ กับดูแลกิจการที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารครั้งที่ 3/2549 วันที่ 23 มีนาคม 2549  ได้อนุมัตินโยบายการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร” เป็นลายลักษณ์อักษรและประกาศใช้โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้บุคลากรของธนาคารทุกระดับ ตั้งแต่ กรรมการธนาคาร ฝ่ายจัดการ และพนักงาน พึงยึดถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการมีบทบาทหน้าที่ในการพิจารณาและกลั่นกรองเนื้อหาของนโยบายดังกล่าวให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามข้อกำหนดของทางการและมาตรฐานในระดับสากล โดยได้พิจารณาตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ The Organisation for Economic Co-Operation and Development (OECD)นโยบายการกำกับดูแลกิจการของธนาคารครอบคลุมในเรื่องต่างๆ คือ ข้อพึงปฏิบัติที่ดีของกรรมการ โครงสร้างและบทบาทของคณะกรรมการ การบริหารจัดการด้วยความโปร่งใส การเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมที่สำคัญของธนาคารที่อาจมีความขัดแย้งของผลประโยชน์หรือเป็นการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน การตระหนักถึงสิทธิของผู้ถือหุ้นและปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกันรวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ เพื่อสร้างความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับธนาคารและเพิ่มคุณค่าให้กับผู้ถือหุ้นในระยะยาว โดยคำนึงถึงสิทธิผู้มีส่วนได้เสียอื่นประกอบด้วยความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย ทั้งนี้ เพื่อให้มีการนำนโยบายการกำกับดูแลกิจการไปปฏิบัติอย่างสมบูรณ์ครบถ้วน ธนาคารได้จัดให้มีนโยบายย่อยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติเฉพาะเรื่อง ประกอบด้วย ระเบียบปฏิบัติ ข้อพึงปฏิบัติ และคู่มือปฏิบัติงานอื่นๆ เช่น จริยธรรมธุรกิจและจรรยาบรรณ การใช้ข้อมูลภายใน แนวทางการป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการซื้อขายหลักทรัพย์ของพนักงาน เป็นต้นคณะกรรมการได้พยายามอย่างเต็มที่ที่จะดูแลและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ รวมทั้งมีการทบทวน และปรับปรุง ให้เหมาะสมเป็นปัจจุบัน และสอดคล้องทันต่อสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การนำไปปฏิบัติก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อธนาคาร ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงดูแลให้บริษัทลูกและบริษัทย่อยได้มีการกำหนดและปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการด้วยในปี 2553 ที่ประชุมคณะกรรมการธนาคารครั้งที่ 7 /2553 เมื่อวันที่ 29 กรกฏาคม 2553 ได้อนุมัติ TMB Corporate Governance Framework ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการกำกับดูแลกิจการของธนาคาร เพื่อให้การปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการของธนาคารมีความชัดเจนยิ่งขึ้นTMB Corporate Governance Framework ได้กำหนดและแบ่งแยกขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างคณะกรรมการกับฝ่ายจัดการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ให้มีความชัดเจน และกำหนดแนวทางการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส การดำเนินการที่สุจริตปราศจากคอร์รัปชั่นและตรวจสอบได้ ซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความมั่นใจต่อผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของธนาคาร
ลักษณะการจัดการองค์การธนาคาร TMB  
                                                                                    
1.       Organization Chart รวมทั้งระบบของธนาคาร
      1.1คณะกรรมการธนาคาร
     ประกอบด้วย กรรมการจำนวน 12 คน โดยเป็นกรรมการที่ไม่ได้เป็นผู้บริหารจำนวน 7คนกรรมการอิสระจำนวน คน และกรรมการที่เป็นผู้บริหารจำนวน คน ดังนี้คณะกรรมการธนาคาร 12 ท่าน               
  
นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์
ประธานกรรมการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
กรรมการ
นายฟิลลิป จี.เจ.อี.โอ. ดามัส
กรรมการ / กรรมการอิสระ
นายสิงหะ นิกรพันธุ์
กรรมการ / กรรมการอิสระ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร
กรรมการ
นางซุย-อิม อึง
กรรมการ
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์
กรรมการ
นายวอน นิเจล ริกเตอร์
กรรมการ
นายอมร อัศวานันท์
กรรมการ
นายคริสโตเฟอร์ จอห์น คิง
กรรมการ / กรรมการอิสระ
พลเอก กมล แสนอิสระ
กรรมการ / กรรมการอิสระ
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ
กรรมการ / ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
                           
                       
                      1.2 ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ท่าน 

      นายบุญทักษ์ หวังเจริญ    
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
นายเบอร์นาร์ด มารี-ชาน มอรีส พอล คุ๊ก   
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้ารายย่อย
นายปพนธ์ มังคละธนะกุล  
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน

นายปิติ ตัณฑเกษม  
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ

นายลอเรนโซ ทัสซาน-บัสซัท 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านปฏิบัติการ

นายถนอมศักดิ์ โชติกประกาย 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน

นายยัน อองรี แวน วาลเลน  
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านบริหารความเสี่ยง


                           -คณะกรรมการตรวจสอบ ท่าน      

                                      
นายสิงหะ นิกรพันธุ์
ประธานกรรมการ
นายคริสโตเฟอร์ จอห์น คิง
กรรมการ
พลเอก กมล แสนอิสระ
กรรมการ
  
                 
  1.3คณะผู้บริหารรายงานตรงต่อประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ท่าน   
                
-บริหารลูกค้ารายย่อย 8 ท่าน
-บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน 6 ท่าน
-บริหารลูกค้าธุรกิจ 13 ท่าน
-บริหารความเสี่ยง 8 ท่าน
-บริหารด้านการเงิน 3 ท่าน
-บริหารด้านปฏิบัติการ 4 ท่าน

2.Organization Chart ของสายงานต่างๆ   
ธนาคารได้แบ่งสายงานต่างๆออกเป็น สายงานได้ดังนี้
              1. สายงานบริหาร มีหน้าที่กำกับดูแล กลยุทธ์องค์กร ทรัพยากรบุคคล บรรษัทภิบาล สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ตรวจสอบ และอื่นๆ

              2. สายงานบริหารลูกค้ารายย่อย มีหน้าที่กำกับดูแล ธุรกิจสาขา บริหารกลุ่มลูกค้าบุคคลระดับกลาง ส่งเสริมการตลาดลูกค้าบุคคล ธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ผลิตภัณฑ์เงินฝาก ผลิตภัณฑ์ธุรกรรมและธุรกิจกองทุนรวม กลยุทธ์และช่องทางบริการดิจิตอล ธุรกิจประกัน และอื่นๆ

             3. สายงานบริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน มีหน้าที่กำกับดูแล บริหารลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็ก บริหารกลุ่มลูกค้าเอสเอ็มอีขนาดเล็ก บริหารผลิตภัณฑ์และ Portfolio ธุรกิจเอสเอ็มอีขนาดเล็ก บริหารผลิตภัณฑ์และการขายสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจบริหารช่องทางและระบบสินเชื่อเครือข่ายธุรกิจ บริหารการตลาดลูกค้าธุรกิจ และอื่นๆ

             4. สายงานบริหารลูกค้าธุรกิจ มีหน้าที่กำกับดูแล ลูกค้าบรรษัทธุรกิจและลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้าบรรษัทธุรกิจ 1 ลูกค้าบรรษัทธุรกิจ 2 ผลิตภัณฑ์ธุรกรรมสินเชื่อ – ลูกค้าบรรษัทธุรกิจ ลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ 1 ลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ 2 บริหารลูกค้าธุรกิจทหารและลูกค้าองค์กรรัฐ ลูกค้าธุรกิจ ลูกค้าธุรกิจขนาดกลาง ลูกค้าธุรกิจ – กรุงเทพฯ ลูกค้าธุรกิจ – ภูมิภาค ผลิตภัณฑ์สินเชื่อและธุรกิจการค้าต่างประเทศ ธุรกิจตลาดเงิน และอื่นๆ

             5. สายงานบริหารด้านบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่กำกับดูแล พิจารณาสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อผู้บริโภคและธุรกิจขนาดย่อมพัฒนาสินทรัพย์ บริหารความเสี่ยงด้านตลาด บริหารความเสี่ยงสินเชื่อเชิงกลยุทธ์ กฎหมาย บริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการองค์กร กำกับการปฏิบัติงาน และอื่นๆ

             6. สายงานบริหารด้านการเงิน มีหน้าที่กำกับดูแล ควบคุมทางการเงิน วางแผนและวิเคราะห์ทางการเงิน บริหารเงิน และอื่นๆ

            7. สายงานบริหารด้านปฏิบัติการ มีหน้าที่กำกับดูแล เทคโนโลยีสารสนเทศ ปฏิบัติการและบริการ บริการส่วนกลาง และอื่นๆ       
3. Organization Chart  ของฝ่ายต่างๆในสำนักงานใหญ่    
ฝ่ายต่างๆ จะมีหน้าที่รับผิดชอบตาม Functional ของฝ่ายที่ได้รับมอบหมาย โดยจะอยู่ภายใต้กรอบการดำเนินงานตามเป้าหมายที่วางไว้ จากประธานกรรมการบริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ รองประธานกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการซึ่งได้รับการรับเลือกจากผู้ถือหุ้นให้ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการดำเนินงาน


4. Organization Chart ของสำนักงานเขตและสาขา
            ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) มีที่ตั้งสำนักงานใหญ่ตั้งอยุ่บน เลขที่ 3000 ถนนพหลโยธิน แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 

สาขาของธนาคารในต่างประเทศ จำนวน  3  สาขา คือ

            - Hong Kong Branch

            - Vientiane Branch
            - Cayman Island Branch

 สาขาของธนาคารในประเทศไทย จำนวน 452 สาขา  โดยแบ่งเป็น

            - สาขาในกรุงเทพและปริมณฑล จำนวน  222 สาขา

            - สาขาในเขตภูมิภาค จำนวน 230 สาขา




ที่มา : https://www.tmbbank.com/ และรายงานประจำปี 2556











สอบ โครงการ Young Financial Star  
                                                                                        ที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ วันที่ 17 เดือนพฤษภาคม 2557





เวทีเฟ้นหาสุดยอดคนรุ่นใหม่ บนเส้นทางการเงิน


            สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 3 ถึงระดับปริญญาโท ในทุกคณะ ทุกสาขาวิชา อายุไม่เกิน 25 ปี หากคุณมีความรู้ มุ่งมั่น  ตั้งใจ พร้อมก้าวสู่เส้นทางของนักวางแผนการเงินและการลงทุน ขอต้อนรับเข้าสู่เวทีสำหรับคนรุ่นใหม่... เข้มข้นกับความรู้ทางการเงินพร้อมเปลี่ยนคุณเป็นมืออาชีพ ชิงรางวัลรวมกว่า 5,000,000 บาท




วัตถุประสงค์โครงการ

          ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และหน่วยงานต่างๆ ในตลาดทุน จัดโครงการ Young Financial Star Competition 2014 ขึ้น




          1. เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนรุ่นใหม่ที่สนใจเรื่องการวางแผนการเงิน การลงทุน มีเวทีในการพัฒนาและฝึกฝนความสามารถของตนเอง ก้าวสู่การเป็นนักการเงินรุ่นใหม่ที่มีทั้งความรู้ด้านการเงิน ตลอดจนทักษะในการวิเคราะห์และการให้บริการลูกค้า



          2. เพื่อสร้าง Young Financial Star Networking กลุ่มพลังคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ด้านการเงินการลงทุนที่ทันสมัย มีวิสัยทัศน์มีความเป็นผู้นำ และมีบทบาทในการร่วมเผยแพร่สร้างกระแสแนวคิดเรื่องการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลไปสู่สังคมในวงกว้าง 


         โดยดำเนินการจัดการแข่งขันต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 11 และในปีนี้จะมีการเฟ้นหาที่สุดของดาวแห่งถนนการเงินใน 5 รางวัล ดังนี้







 ติดตามข่าวกิจกรรมโครงการ YFS  >>คลิกที่นี่ 






งาน MONEY EXPO 2014




               ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในงาน Money Expo 2014 ซึ่งธนาคารได้มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าเพื่อยกระดับสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยความหลากหลายความสุข ทางการเงินจาก TMB เพื่อตอกย้ำ“ธุรกรรมการเงินต้อง TMB” ทั้งด้านเงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต ประกัน การลงทุน และบัญชี ME ฝากไม่ประจำ ดอกเบี้ยสูง 4 เท่าของออมทรัพย์ ในงาน Money Expo 2014 ตั้งแต่วันที่ 8-11 พฤษภาคมนี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
           
                 ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ Make THE Difference ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้น ซึ่งทีเอ็มบีนำมาเสนอในงาน Money Expo 2014 ประกอบไปด้วย
                
                 ME by TMB บัญชีเงินฝากรูปแบบใหม่ ถอนได้ ดอกเบี้ยสูง 4 เท่าของออมทรัพย์ ที่มอบความสะดวก และความคุ้มค่าสำหรับลูกค้าที่ชอบบริหารจัดการการเงินด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ฝาก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ และดูดอกเบี้ยได้ทุกวัน ทุกเวลา และสำหรับลูกค้าที่นำบัตรประชาชนพร้อมสมุดบัญชีออมทรัพย์มาลงทะบียนขอเปิดบัญชีภายในงาน พิเศษ รับ “บัตรกำนัลสตาร์บัคส์ มูลค่า 100 บาท” ทันที
         
                 บัญชีเงินฝากทีเอ็มบีช่วยให้ลูกค้ารวยแบบง่ายๆ ด้วย “บัญชีเพื่อใช้” (Transactional Account) ที่ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียม และ “บัญชีเพื่อออม” ที่ให้ดอกเบี้ยสูง สำหรับ “บัญชีเพื่อใช้” เป็นบัญชีเงินฝากที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินประจำวันทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพและพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงอย่างคุ้มค่าในการทำธุรกรรม เช่น กดเงิน จ่ายบิล และโอนเงิน ผ่านตู้เอทีเอ็ม อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง โมบายแบงกิ้ง และโฟนแบงกิ้ง โดยมีให้เลือกตามปริมาณการใช้งานของลูกค้า ทั้งบัญชี“TMB โน ฟี” สำหรับลูกค้าที่ทำธุรกรรมจำนวนมาก ทำรายการได้ฟรีรวมสูงสุด 20 ครั้งต่อเดือน และ บัญชี TMB ธุรกรรมทำฟรี สำหรับลูกค้าที่ทำรายการธุรกรรมทางบัญชีน้อยลงมา โดยสามารถกดเงิน จ่ายบิล โอนเงิน ผ่านช่องทางอิเลกทรอนิกส์ ได้ฟรี รวมสูงสุด 10 ครั้งต่อเดือน 

                  นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเปิดบัญชีในกลุ่ม “บัญชีเพื่อออม” ซึ่งธนาคารขอนำเสนอ “บัญชีเงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง” (No Fixed) เป็นบัญชีให้ดอกเบี้ยสูง 2.25% ปราศจากข้อจำกัดใดๆ ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชีและฝากเพิ่ม
“บัญชีเงินฝากออมทรัพย์แทนความห่วงใย” (TMB Savings Care) ที่ให้ลูกค้าทั้งออม พร้อมรับความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้านบาท โดยลูกค้าไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน เพียงลูกค้าเปิดบัญชีขั้นต่ำ 5,000 บาท ก็จะได้รับความคุ้มครอง 20 เท่าของยอดเงินฝาก สูงสุด 1 ล้านบาท พิเศษสุดเมื่อเปิดบัญชีภายในงานฯ จะได้รับ “สมุดนิทานแทนความห่วงใย” จำนวน 1 เล่ม ซึ่งเป็นเรื่องราวความห่วงใยในครอบครัวมาร้อยเรียงถ่ายทอดผ่านสมุดนิทานและตัวการ์ตูนป๊อปอัพ และลุ้นรับหมอนผ้าห่มนกฮูกสุดน่ารัก เพียงแชร์เรื่องราวและภาพความประทับใจในครอบครัวพร้อมถ่ายรูปคู่สมุดนิทานผ่าน Facebook หรือ Instagram ใส่ #TMBSavingsCare และระบุอีเมล์ของลูกค้า ตั้งแต่วันนี้ - 31 พ.ค. 2557

                 ในส่วนของสินเชื่อ ทีเอ็มบีมีข้อเสนอพิเศษ อาทิ กู้บ้าน ที่ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยดี ตลอด 3 ปีแรก สำหรับลูกค้าที่ ต้องการขอกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งประเภท บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุดคอนโดมิเนียม ทีเอ็มบี มีข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกการผ่อนชำระทั้งแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก คือ เดือนที่ 1-2 ไม่คิดดอกเบี้ย เดือนที่ 3-24 ดอกเบี้ย 3.99% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MLR-1.50% หรือแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก คือ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MLR-1.50% ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถเลือกการผ่อนชำระที่เหมาะสมตรงกับความต้องการได้ พร้อมสิทธิพิเศษฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง และค่าธรรมเนียมธนาคารทุกประเภท และ รับฟรี ประกันอัคคีภัย 

                  ในงานยังมีข้อเสนอพิเศษ “สินเชื่อบุคคล ทีเอ็มบี รีไฟแนนซ์” ที่ให้ดอกเบี้ยพิเศษ 10% นาน 1 ปีเต็ม สำหรับลูกค้าที่ต้องการเคลียร์หนี้สินเชื่อบุคคล หรือบัตรเครดิตต่างๆ เป็นการแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับลูกค้าที่ต้องการความคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ บ้าน และรถยนต์ ก็สามารถเลือกรูปแบบประกันที่ตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมพบโปรโมชั่นดีๆ พิเศษภายในงาน 

                  นอกจากนี้ ในส่วนลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีมีผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจได้เป็นอย่างดี คือสินเชื่อธุรกิจ 3 เท่า 3 ก๊อก และบัญชีธุรกิจวัน แบงก์ วัน แอคเค้าท์ (One Bank One Account) โดยผู้สนใจที่ยื่นความจำนงค์ภายในงานและส่งเอกสารครบ จะได้ของที่ระลึกจากบูธอีกด้วย

                  สำหรับบูธทีเอ็มบี ในงาน Money Expo 2014 ได้รับการออกแบบภายใต้แรงบันดาลใจและแนวคิด Make THEDifference ที่ทีเอ็มบีอยากให้เป็นสถานที่ที่ลูกค้านึกถึงเป็นอันดับแรก เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง นอกจากที่บ้านและที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่สาม ที่พักพิงไว้วางใจ นั่งเล่น พบปะสังสรรค์ มีบริการที่หลากหลายและให้ความสุขทางการเงินโดยสามารถตอบโจทย์เรื่องการเงินของลูกค้าเพื่อให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้น

                  ลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายและสิทธิประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้า ในด้านอื่นๆ อาทิ บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และสินเชื่อ SME ขอเชิญแวะมาพูดคุยสอบถามกับพนักงานได้ที่บูธทีเอ็มบี หรือพร้อมจะยกระดับสิทธิประโยชน์ให้



เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย 



ประวัติพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย

           ตั้งแต่ก่อธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด ( มหาชน ) ตั้งมาจนถึงปัจจุบัน ธนาคารมีเอกสารสำคัญ และเครื่องมือเครื่องใช้จำนวนมาก อันบ่งบอกถึงวิวัฒนาการแห่งความเจริญก้าวหน้าในระบบการเงินการธนาคารของประเทศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นภาพในอดีตได้อย่างชัดเจน และด้วยตระหนักถึงคุณค่าของความรู้อันสืบเนื่องมาจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของระบบการเงินการธนาคาร ซึ่งเป็นสิ่งล้ำค่า และเป็นของหายากในปัจจุบัน ธนาคารจึงได้จัดสร้าง “ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ”ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ในการจัดแสดงสิ่งของล้ำค่าทางประวัติศาสตร์ด้านการเงินการธนาคารของชาติ สำหรับเป็นแหล่งค้นคว้าด้านวิชาการ อันเป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นหลัง ซึ่งสามารถใช้เป็นที่ค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปได้
พิพิธภัณฑ์ เริ่มเปิดดำเนินการที่อาคารสำนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย เมื่อปี พ.ศ. 2526 และได้ย้ายมาจัดแสดงที่สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน โดยมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2539 ณ อาคารพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย และในโอกาสครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้มีการปรับปรุงและได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน มาทรงเยี่ยมชมอย่างเป็นทางการเมื่อวันอังคารที่ 30 มกราคม 2550 ในวาระครบรอบ 100 ปี ธนาคารไทยพาณิชย์





ส่วนที่ 1 วิวัฒนาการเงินตรา

                           
                           



            ก่อนที่จะนำเงินตรามาใช้เป็นสื่อกลางในการซื้อขายกันดังในปัจจุบัน คนเราได้นำระบบการแลกเปลี่ยนผลิตผลของตน กับสิ่งอื่นที่ต้องการมาใช้ตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์แล้ว แต่การแลกเปลี่ยนโดยตรงที่กล่าวนี้ไม่สะดวก เนื่องจากผลิตผลบางชนิด เป็นสิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยงไม่สามารถตัดแบ่งกันได้ สินค้าที่นำมาแลกเปลี่ยนกัน มีคุณภาพไม่เท่ากัน นอกจากนี้ความต้องการของผู้ที่มีผลิตผล ที่ต้องการจะแลกเปลี่ยนทั้งสองฝ่ายไม่ตรงกัน การแลกเปลี่ยนจึงไม่อาจเกิดขึ้นได้

           เพื่อให้การแลกเปลี่ยนเป็นที่พอใจของทั้งสองฝ่าย คนเราจึงเริ่มนำเอาวัตถุมีค่าบางชนิด ซึ่งถือกันว่า เป็นของมีค่าในสังคมขณะนั้น มาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน วัตถุที่นำมาใช้เป็นสื่อกลางนี้ มีหลากหลายชนิดแตกต่างกันไปในแต่ละสังคม และยุคสมัย เช่น ปศุสัตว์ ลูกปัด เกลือ เปลือกหอย ขนนก ขวานหิน หัวลูกธนู หนังสัตว์ ฟันปลาวาฬ เครื่องประดับ โลหะต่าง ๆ เป็นต้น

           สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คนเราได้นำมาใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จึงเกิดระบบการแลกเปลี่ยน โดยใช้สื่อกลางขึ้น ในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน มากมายหลายชนิดนั้น แร่เงินและแร่ทองคำ มีคุณสมบัติที่เหนือกว่า ผลิตผลทางการเกษตร เช่น หายาก คงทน ตัดแบ่งเป็นชิ้นเล็ก ๆ ทอนค่าลงได้ โดยไม่เสียคุณสมบัติเดิม หลอมรวมกันเป็นก้อนใหญ่ขึ้นได้ พกพาสะดวก ทำเครื่องประดับได้งดงาม ผู้คนในสังคมต่างๆ ทั่วโลก จึงนิยมใช้โลหะทั้งสองชนิด เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์

                


                ส่วนที่ 2 วิวัฒนาการธนาคาร






                การเก็บอาหารและสิ่งมีค่านั้น เป็นนิสัยอย่างหนึ่ง ที่คนเราประพฤติปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยโบราณ ควบคู่กับประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติแล้ว เมื่อมีการนำสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเข้ามาใช้ การเก็บรักษาทรัพย์สินตลอดจนอาหาร จึงค่อยๆ เปลี่ยนรูปมาเป็น การเก็บออมสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สถานที่ซึ่งสามารถอำนวยความปลอดภัย ในการเก็บรักษาสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจึงเกิดขึ้น
ต่อมา สถานที่รับฝากเหล่านี้ ได้นำสิ่งของสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ที่รับฝากไว้ และมีจำนวนมากออกให้ยืม โดยได้รับผลตอบแทน กิจการธนาคารจึงเกิดขึ้น
                 ครั้นเมื่อมีการนำโลหะเงิน และโลหะทองมาใช้เป็นเงินตราแล้ว ด้วยมาตรฐานของเงินตรา ที่เป็นโลหะที่มีคุณสมบัติเหมือนกันทุกชิ้น จึงทำให้เกิดความสะดวก ในการชำระหนี้มากขึ้น การค้าขายจึงแพร่หลาย กว้างขวางมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อการเดินเรือสามารถทำได้กว้างขวางขึ้น การค้าขายทางทะเล ก็สามารถทำได้กว้างขวางตามไปด้วย ความจำเป็นในการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างสกุล ซึ่งมีน้ำหนัก และความบริสุทธิ์ของเนื้อเงินต่างกันก็เกิดขึ้น การส่งเงินไปชำระหนี้ และการรับฝาก การเรียกเก็บเงิน การให้กู้ยืมเงิน จึงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ธุรกิจการธนาคาร แพร่หลายและรุ่งเรืองต่อมา





                  ส่วนที่ 3 ต้นแบบธนาคารไทย






                  การติดต่อและค้าขายกับต่างประเทศ ที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น เป็นเหตุสำคัญ ทำให้ต่างประเทศเห็นเป็นช่องทาง ที่จะหาประโยชน์ จากการที่ประเทศไทยขาดธนาคาร ที่จะทำธุรกิจ การธนาคารพาณิชย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ จึงได้เข้ามาเปิดสาขา ดำเนินกิจการในประเทศไทย โดยเริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช 2431 เป็นต้นมา
                  และในที่สุด สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทั้ง 3 แห่ง ได้จัดพิมพ์ และนำบัตรธนาคาร เข้ามาใช้ในระบบการเงินของไทยด้วย ในระยะต่อมาด้วยความสำคัญของธุรกิจการธนาคาร ที่มีต่อการค้าและเศรษฐกิจของประเทศนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย เสนาบดี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติในขณะนั้น จึงทรงคิดตั้ง ธนาคารของชาติ หรือธนาคารกลางขึ้นก่อน เพื่อที่จะให้เป็น ตัวแทนทางการเงินของรัฐบาล แล้วยังจะทรงให้ ธนาคารของชาตินี้ เป็นผู้พิมพ์ธนบัตรของประเทศขึ้น และนำออกใช้อีกด้วย แต่ก็ต้องทรงระงับความคิดนี้ไว้
                  เนื่องจากบรรดาที่ปรึกษาทางการเงิน ชาวต่างประเทศพากันคัดค้าน พระองค์จึงทรงหันไป ปรับปรุงมาตราหน่วยเงินของไทย ให้เป็นระเบียบ แต่เพียงประการเดียว โดยทรงพิจารณา ลดหน่วยเงินตราของไทยลง จากเดิม 9 หน่วย ได้แก่ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง ซีก เสี้ยว อัฐ และโสฬส ให้เหลือเพียง 2 หน่วย ได้แก่ “บาท” และ “สตางค์” อันเป็นระบบทศนิยม ทำให้สะดวกแก่การคิดคำนวณ และลงบัญชี ในพุทธศักราช 2441 พร้อมกับได้เริ่มติดต่อกับประเทศอังกฤษ เพื่อพิมพ์ธนบัตร เข้ามาใช้ใน พุทธศักราช 2445
                   ระบบการเงินของไทย จึงประกอบด้วย เหรียญกษาปณ์ และธนบัตร เมื่อได้จัดรูปแบบของ ระบบเงินตราของประเทศเรียบร้อยแล้ว จึงประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วง ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม พุทธศักราช 2447
                   ส่วนทางด้านความคิด จะจัดตั้งธนาคารขึ้นนั้น เมื่อยังไม่สามารถ จัดตั้งธนาคารของรัฐขึ้นได้ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย จึงทรงหันไปพิจารณา ธนาคารของเอกชน หรือธนาคารพาณิชย์ ซึ่งทรงตระหนักดี ถึงความจำเป็นของประเทศ ที่ต้องมีการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นอยู่ตลอดเวลา
                   นอกจากนี้ ยังทรงเห็นถึงความยากลำบาก ของบรรดาพ่อค้าชาวไทย และจีน ที่ต้องติดต่อขอใช้บริการจาก สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ที่มีอยู่ในขณะนั้น แต่ก็มิได้รับความสะดวก ประกอบกับ การที่ประเทศไทยยังไม่มีธนาคารพาณิชย์ ที่เป็นของคนไทยมารองรับ
                   พระองค์จึงทรงตัดสินพระทัย ที่จะจัดตั้งธนาคารพาณิชย์ขึ้นมาให้จงได้ จึงทรงเห็นว่า น่าที่จะทดลองดำเนินงานดูก่อน ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ มีความรู้ในการบริหารธนาคารขึ้นแล้ว เมื่อจะขยายกิจการให้ใหญ่โตต่อไป ก็จะสามารถนำประสบการณ์ ไปใช้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้
                   ที่สำคัญคือ เป็นการฝึกให้ชาวไทย มีความรู้ในด้านการบริหารธนาคารพาณิชย์อีกด้วย พระองค์ทรงจัดหาเงินลงทุนได้ จำนวน 30,000 บาทแล้ว ก็ทรงเตรียมการจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก โดยยื่นขออนุญาตจัดตั้ง “บุคคลัภย์” ขึ้น เริ่มสั่งซื้อกระดาษ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่าง ๆ ติดต่อขอเช่าตึกแถวของพระคลังข้างที่ ตำบลบ้านหม้อ พร้อมทั้งจัดหาพนักงาน รวมทั้งผู้จัดการไว้ เตรียมทำพิธีเปิดดำเนินการต่อไป เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว


ส่วนที่ 4 ไทยพาณิชย์กับการก้าวสู้ยุคปัจจุบัน



                  ภาพพจน์ของธนาคารไทยพาณิชย์ ที่ปรากฏในความรู้สึกของสาธารณชน คือ ความมั่นคง มีผู้บริหารมืออาชีพ มีความเจริญเติบโตสูง เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีการธนาคาร ในขณะที่มุ่งเน้น การนำเทคโนโลยีใหม่ มาบริการแก่ลูกค้า แต่ก็สามารถรักษาผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ถือหุ้น ลูกค้าและพนักงานของธนาคาร
                  การนำเทคโนโลยี เข้ามาให้บริการแก่ลูกค้า นอกจากจะอำนวยความสะดวกรวดเร็วแล้ว ยังคำนึงถึงการเพิ่มคุณค่า ในบริการที่ให้แก่ลูกค้า และการแพร่ขยายธุรกิจไป ในด้านต่าง ๆ อีกด้วย ทั้งนี้ นับตั้งแต่ธนาคาร ได้นำระบบบริการเงินด่วน ATM เข้ามาบริการแก่ลูกค้า เป็นธนาคารแรกในประเทศไทยแล้ว ก็ดูเหมือนว่า เป็นก้าวสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลงของการธนาคารพาณิชย์ไทย ไปสู่การเป็นธนาคารใน ระบบธนาคารพาณิชย์ สมัยใหม่ จากนั้นธนาคาร ได้สร้างศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ ไทยพาณิชย์ขึ้น เพื่อเก็บสำรองข้อมูล และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนา และให้บริการแก่ลูกค้า และยังใช้เป็นข้อมูล ในการตัดสินใจด้านการบริหารที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

คณะผู้จัดทำ
เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย


สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ : http://www.thaibankmuseum.or.th/home.php.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น