วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2557


ทิศทางธุรกิจ....ภายใต้โรดแมพ (Road Map) ของ คสช.



ทิศทางธุรกิจ....ภายใต้โรดแมพ (Road Map) ของ คสช.



ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองโรดแมพด้านเศรษฐกิจของ คสช. จะช่วยให้ภาคธุรกิจฟื้นตัวได้ แต่มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชัดเจนของแผนงานในทางปฏิบัติ และการปรับตัวของผู้ประกอบการ  
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม  ส่งผลให้ภาพการเมืองและเศรษฐกิจมีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติได้ประกาศโรดแมพ (Road map) แผนฟื้นฟูเศรษฐกิจออกมา ทาง TMB Analytics ได้มองภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศช่วงที่เหลือของปีออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 

กลุ่มแรก คือ “ธุรกิจที่ฟื้นตัวเร็ว” ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ธุรกิจร้านค้าปลีกต่างๆ ซึ่งได้รับผลพวงจากเม็ดเงินจำนำข้าวที่ได้เริ่มดำเนินการจ่ายคืนกลับเข้าสู่กระเป๋าของเกษตรกรแล้วครึ่งหนึ่ง (ล่าสุดจ่ายแล้ว 4 หมื่นล้านบาทจากยอดค้างจ่าย 9.3 หมื่นล้านบาท) ทำให้มีเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมากขึ้น รวมถึงภาคธุรกิจท่องเที่ยวที่มีทิศทางดีขึ้นหลังจากมีการยกเลิกประกาศเคอร์ฟิวในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญไปแล้วบางส่วน ได้แก่ พัทยา กระบี่ เกาะสมุย พังงา ภูเก็ต หาดใหญ่ ชะอำ เกาะช้าง หัวหิน และเกาะพะงัน 
กลุ่มต่อมา คือ “ธุรกิจที่มีแนวโน้มฟื้นตัว” ได้แก่ ธุรกิจผลิตและขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งในปัจจุบันพบว่ากำลังซื้อยังอ่อนแรงอยู่ แต่ด้วยทิศทางการปรับโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจ ประกอบกับความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น จะทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น และน่าจะเข้าสู่ภาวะปกติได้อีกครั้งในปีหน้า อย่างไรก็ดี ธุรกิจที่อิงกับภาคการเกษตรยังคงต้องติดตามปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในระดับต่ำ ซึ่งอาจจะส่งกระทบต่อกำลังซื้อของธุรกิจเหล่านั้นในระยะถัดไปได้ 
และในกลุ่มสุดท้าย คือ “ธุรกิจที่ต้องรอปัจจัยหนุน” ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ต้องมีมาตรการหรือนโยบายจากภาครัฐช่วยกระตุ้น ได้แก่ กลุ่มธุรกิจวัสดุก่อสร้าง รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ เครื่องจักรและอุปกรณ์  เนื่องจากภาครัฐอยู่ในระหว่างการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ อาทิ การตั้งบอร์ดบีโอไอเพื่ออนุมัติเงินลงทุนกว่า 7.6 แสนล้าน การลดขั้นตอนจากออกใบอนุญาต รง.4 โดยเฉพาะโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคาจะช่วยเสริมสร้างความเชื่อมั่นการลงทุนจากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งมาตรการต่างๆ เหล่านี้ อาจต้องรอเวลาสักพัก จึงจะทำให้กลุ่มธุรกิจที่รอปัจจัยหนุนได้รับอานิสงส์อย่างเต็มที่
ทั้งนี้ ปัยจัยสำคัญสำหรับการฟื้นตัวของภาคธุรกิจในปัจจุบัน เป็นเรื่องของความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้านความชัดเจนของโครงสร้าง นโยบาย แผนงาน และมาตรการทางเศรษฐกิจของภาครัฐที่ทยอยออกมาว่าจะสามารถแปลงให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมในทางปฏิบัติได้มากขนาดไหน ซึ่งในส่วนภาคธุรกิจคงต้องปรับตัวตาม และเลือกวางแผนธุรกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนงานใหม่ๆของภาครัฐ อันจะนำไปสู่การฟื้นตัวของธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพได้


TMB เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ตอกย้ำแนวคิด 

Make THE Difference


TMB เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ตอกย้ำแนวคิด Make THE Difference


       เริ่ม “เปลี่ยน” กันตั้งแต่วันนี้ ก็ยังไม่สาย ไม่จำเป็นต้องทนกับความคุ้นเคยเดิมๆ ล่าสุด ทีเอ็มบี นำโดย ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร จัดแถลงข่าวเปิดตัว “เมค เดอะ ดิฟเฟอร์เรนซ์ 2014” (Make THE Difference) “ทีเอ็มบี เปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น” พร้อมเปิดตัวภาพยนตร์โฆษณาชุดใหม่ “ไม่หยุดถาม” ที่สะท้อนแนวคิดให้คนไทยรู้จักท้าทายความเคยชินเดิมๆกับทุกสิ่งรอบตัวเรา เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ดีขึ้น ตามแนวคิด Make THE Difference โดยมีแขกผู้มีเกียรติที่ร่วมเสริมแนวคิด อาทิ วาทยกรหนุ่มอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ทฤษฎี ณ พัทลุง และ หวานหวาน-อรุณณภา พาณิชจรูญ นักแสดงสาวที่ได้พิสูจน์การ Make THE Difference กับเสน่ห์การปั่นจักรยาน ร่วมงาน ณ ออดิทอเรียม ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่ ถนนพหลโยธิน

         ภารไดย ธีระธาดา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ในปีนี้ Make THE Difference จะใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น กับภาพยนตร์โฆษณา “ไม่หยุดถาม” ที่เรามองสิ่งต่างๆ รอบตัวจนชินชา กลายเป็นเรื่องปกติ จุดเริ่มต้น ที่จะ Make THE Difference อยู่ที่ “คำถาม” เพียงแค่ต้องเริ่มสร้างคำถาม หันมาตั้งคำถามกับตัวเอง และสิ่งรอบข้าง ว่าเราจะทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องทนกับความคุ้นเคยเดิมๆ เพียงแค่นี้ ก็จะเปลี่ยน...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น ได้อย่างง่ายดาย”

          ผู้ร่วมเจตนารมณ์ในการ Make THE Difference อย่างวาทยกรหนุ่มที่อายุน้อยที่สุดในประเทศไทย ทฤษฎี ณ พัทลุง อัจฉริยะแห่งดนตรีคลาสสิกวัย 28 ปี ร่วมแชร์ประสบการณ์และบอกเล่าถึงจุดพลิกผัน ที่นำมาสู่การเปลี่ยน เผยว่า "ความล้มเหลวครั้งหนึ่งในการเป็นคอนดักเตอร์ที่ฝรั่งเศส ทำให้เกิดการเปลี่ยน ก็คือ มีจุดหมาย ในชีวิต ปรับปรุงตัวเองและ ไม่หยุดเรียนรู้ และยังสอนให้รู้ว่า ต่อให้เราอยู่สูงแค่ไหน เราก็ตกลงมาได้” ส่วน หวานหวาน-อรุณณภา พาณิชจรูญ ที่ได้ Make THE Difference กับเสน่ห์การปั่นจักรยานแบบเอ็กซ์ตรีม ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกับชีวิต เผยถึงการตั้งเป้าหมายอย่างภูมิใจว่า “ตอนนี้หวานรู้สึกมีความสุขกับการใช้ชีวิตมาก จากการตั้งเป้าหมายว่าจะชิงแชมป์แข่งจักรยานของประเทศไทย ซึ่งเราก็ไม่คิดว่า เราจะทำได้หรือไม่ แต่ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากัน อยู่ที่ว่าเราจะเลือกจัดการชีวิตอย่างไร เมื่อเริ่มแค่ตั้งเป้าหมายให้ตัวเอง ลงมือทำ พอทำตามเป้าหมายได้ในระดับหนึ่งแล้ว คนมองเราเป็นแรงบันดาลใจ มันเป็นความสุขค่ะ อย่างน้อยเราก็ได้ช่วยทำให้พวกเขามีสุขภาพดีขึ้น ออกจากหน้าจอโทรศัพท์ ออกจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์คบ้าง เป็นการผ่อนคลาย มีชีวิตที่แฮปปี้ขึ้นค่ะ”

           อย่ากลัวที่จะคิดนอกกรอบ เริ่มตั้ง “คำถาม” กับตัวเอง และสังคมรอบข้าง ว่าเราทำให้ดีกว่านี้ได้หรือไม่ ตั้งแต่วันนี้ เพื่อ Make THE Difference เปลี่ยน ...เพื่อให้ชีวิตคุณดีขึ้น


]