TMB ออกหุ้นกู้วงเงิน 5 หมื่นลบ. อายุไม่เกิน 270 วัน
ให้รายใหญ่
ธนาคารทหารไทย (TMB) เสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นของธนาคาร อายุไม่เกิน 270 วันนับจากวันที่ออกหุ้นกู้ หรือหุ้นกู้ระยะสั้นไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ จำนวนไม่เกิน 50,000 ล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยขึ้นอยู่กับอัตราดอกเบี้ยตลาด ณ ช่วงเวลาเสนอขาย
ทั้งนี้เสนอขายให้แก่ผู้ลงทุนสถาบันและ/หรือผู้ลงทุนรายใหญ่ ระยะจองซื้อตั้งแต่วันที่ 27 มิ.ย.57 ถึงวันที่ 26 มิ.ย. 58
อันดับความน่าเชื่อถือองค์กร A+(tha) /Stable โดยบริษัท ฟิทช์ เรทติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เมื่อวันที่ 30 ก.ย.56
ธนาคารมีวัตถุประสงค์ที่จะนำเงินที่ได้จากการเสนอขายหุ้นกู้ระยะสั้นไปใช้ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร
แวลลูฯ นำทีม CSR ของ TMB เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดโลกนิทานของหนู ณ โรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี
บริษัทเดอะแวลลูซิสเตมส์ จำกัด (ในเครืออีซีเอสโฮลดิงส์) หนึ่งในผู้นำธุรกิจค้าส่งสินค้าไอทีในประเทศไทย โดยคุณณรงค์ อิงค์ธเนศ ประธานบริหาร ได้มอบหมายให้คุณวรรณา องค์ประเสริฐ ผู้จัดการโครงการโลกนิทานของหนู (แถวหน้า ที่ 1 จากขวา) นำคุณนพวรรณ แสงธีรกิจ และทีมงานโครงการ “ไฟ ฟ้า” หนึ่งในกิจกรรมเพื่อสังคมของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เข้าเยี่ยมชมห้องสมุดโลกนิทานของหนูแห่งที่ 7 พร้อมแลกเปลี่ยนแนวคิดการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน กับท่าน ผอ. เจริญ ทองเมือง (แถวหน้า ที่ 3 จากขวา) และคณะครูของโรงเรียนชุมชนวัดใหญ่โพหัก อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เมื่อเร็ว ๆ นี้
ทีเอ็มบีแฉรายย่อยฝากน้อยแต่กู้หนัก
บั่นทอนศักยภาพการชำระหนี้
ทีเอ็มบีแฉรายย่อยฝากน้อยแต่กู้หนัก บั่นทอนศักยภาพการชำระหนี้ แนะรัฐชูการออมเป็นนโยบายชาติ
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ระบุว่า ยุทธศาสตร์สนับสนุนการออมของประเทศเป็นสิ่งจำเป็นหลังสัญญาณการออมในรอบทศวรรษที่ผ่านมา ส่อปัญหาเงินฝากของรายย่อยเพิ่มขึ้นไม่ทันการขยายตัวของหนี้ภาคครัวเรือนที่เร่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แม้ทางเลือกในการออมจะมีหลากหลายแต่การฝากเงินกับธนาคารพาณิชย์ก็ยังเป็นทางเลือกอันดับแรกเพราะใช้บริการได้ง่ายและปลอดภัยภายใต้เงื่อนไขกฎหมายคุ้มครองเงินฝากที่มียอดไม่เกิน 1 ล้านบาท จะได้รับการคุ้มครองแน่นอน ทำให้การออมของประชาชนจึงยังอยู่ที่เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ฝากเงินรายย่อย
ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา (เปรียบเทียบข้อมูล มีนาคม 2547 กับ มีนาคม 2557) พบว่าการฝากเงินของรายย่อยซึ่งมีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาทต่อบัญชี มีสัดส่วน 98% ของจำนวนบัญชีเงินฝากทั้งหมดแต่มีอัตราการเพิ่มของยอดเงินฝากโดยเฉลี่ยเพียง 5.7% ต่อปี ต่ำกว่าการขยายตัวของรายได้ต่อหัวของคนไทยที่เพิ่มขึ้น 6.5% ต่อปี ที่แย่ไปกว่านั้นคืออัตราการขยายตัวของเงินฝากรายย่อยนั้นต่ำกว่าการก่อหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มถึง 13.7% ต่อปี เมื่อศึกษาพฤติกรรมการออมของคนไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมาพบว่า อัตราการเติบโตของยอดเงินในบัญชีมักจะเพิ่มตามขนาดของบัญชี อาทิ กลุ่มบัญชีเงินฝากที่มียอดฝากไม่เกิน 5 หมื่นบาท มีการขยายตัวของยอดเงินฝากรวมที่อัตรา 4.5% ต่อปี ต่ำกว่ากลุ่มบัญชีเงินฝากที่มียอดระหว่าง 5 แสนถึง 1 ล้านบาท ที่ขยายตัว 6.3% ทำให้ตีความได้ว่าผู้ที่มีกำลังการออมสูงกว่าหรือมีรายได้ที่จะออมมากกว่าจะมีความสามารถ “ให้เงินทำงาน” ได้มากกว่า
แต่ผู้ที่มีรายได้ไม่สูงก็เพิ่มเงินออมได้ถ้าตั้งใจจริงโดยลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นเช่นควรเลิก “จน เครียด กินเหล้า” เพราะจากตัวเลขการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติในปี 2554 ชี้ว่าค่าใช้จ่ายสำหรับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบมีสัดส่วนประมาณ 1% ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือน หากเลิกใช้จ่ายส่วนนี้ได้เงินออมก็งอกเงย 1% ของรายจ่ายต่อเดือน ส่วนค่าใช้จ่ายในการเล่นหวยและการพนันมีสัดส่วนประมาณ 1% ของค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นต่อเดือน ดังนั้นถ้าเลิกเหล้าและการพนันได้ เงินออมก็จะงอกเงยร่วม 2% ยิ่งหากลดค่าใช้จ่ายในการสื่อสารที่มีโครงสร้างประมาณ 3% ของรายจ่ายรายเดือนลงได้หนึ่งในสาม เราจะมีเงินออมเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 3%
จากผลสำรวจเดียวกันนี้ยังพบอีกว่า กลุ่มผู้ที่มีรายได้น้อยจะมีสัดส่วนหนี้ที่นำมาใช้ในการบริโภคอุปโภคต่อหนี้สินในอัตราที่ค่อนข้างสูง กลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่อเดือนไม่เกิน 15,000 บาท จะมีสัดส่วนของหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคสูงถึง 51% เทียบกับกลุ่มครัวเรือนที่มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 15,000 บาท ที่มีสัดส่วนเพียง 36%
สถิติข้างต้นสะท้อนให้เห็นภาวะออมน้อยกู้มาบริโภคหนักโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ซึ่งส่งผลไปยังศักยภาพในการชำระหนี้รวมไปถึงปัญหาทางการเงิน ยิ่งกว่านั้นการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทยอาจสร้างภาระทางการเงินให้กับประเทศได้มาก เช่น คนอาจมีเงินไม่พอใช้จ่ายในการดำรงชีพ หรือ รัฐต้องจัดงบประมาณให้เป็นสวัสดิการแก่ประชาชนมากขึ้นซึ่งจะก่อให้มีปัญหาการคลังตามมาได้ เป็นต้นหากภาวะการออมของคนไทยยังไม่ได้รับการดูแลแก้ไขให้เป็นนโยบายระดับชาติ
ที่มา : http://www.ryt9.com เสาร์ที่ 31 พฤษภาคม 2557
ทีเอ็มบี คว้าสุดยอดแคมเปญการตลาดแห่งปี
“MAT AWARD 2014” ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ทีเอ็มบีปลี้มแคมเปญการตลาด D-Day มุ่งสร้างการรับรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับการยกระดับสิทธิประโยชน์ลูกค้าทีเอ็มบี ไม่มีค่าธรรมเนียมข้ามเขตอีกต่อไป คว้ารางวัล GOLD Award จาก MAT Award 2014 ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
ทีเอ็มบีปลี้มแคมเปญการตลาด D-Day
มุ่งสร้างการรับรู้ของลูกค้าเกี่ยวกับการยกระดับสิทธิประโยชน์ลูก
ค้าทีเอ็มบี ไม่มีค่าธรรมเนียมข้ามเขตอีกต่อไป คว้ารางวัล GOLD
Award จาก MAT Award 2014
ของสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย
นายปพนธ์ มังคละธนะกุล (กลาง)
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน ทีเอ็มบี
เปิดเผยว่า “ธนาคารได้ส่งแคมเปญการตลาดทีเอ็มบี “D-
Day” เข้าประกวด MAT Award 2014
ครั้งที่ 7
จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลสุดยอด
แคมเปญการตลาด
แห่งปี คือ GOLD Award
หรือ จากแคมเปญ "ยกระดับสิทธิประโยชน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมข้ามเข
ต
อีกต่อไป” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าชุด”จรวด” ความสำเร็จครั้งนี้
มาจากความชัดเจนของแคมเปญการตลาดที่ถูกสื่อสารออกไป
โดยเฉพาะในเรื่องของค่าธรรมเนียม ซึ่งจากการสำรวจกับลูกค้า
พบว่าค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้อ
งการให้หมดไป เป็นสิ่งที่ลูกค้าอึดอัด แต่ทำอะไรไม่ได้
เมื่อทีเอ็มบีได้ประกาศยกระดับสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าทุกประเภท
โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมฝาก จ่าย ถอน โอน หรือฝากเช็ค ข้ามเ
ขตระหว่างบัญชีภายใน ทีเอ็มบีอีกต่อไป
จึงตอบโจทย์ลูกค้าเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ธนาคารมีบัญชีใหม่เพิ่มขึ้
นจำนวนมาก ซึ่งรางวัลที่ได้รับ
ในครั้งนี้ถือเป็นความภูมิใจ
แต่ที่น่ายินดีมากกว่าคือ สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการทำธุรก
รรมให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง”
ขอขอบคุณในความร่วมมือ
สื่อสารและภาพลักษณ์องค์กร TMB
รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02 299 1950, 1953, 02 242 3260, 089 967 1411
* * * * * * * *
นายปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน ทีเอ็มบีเปิดเผยว่า “ธนาคารได้ส่งแคมเปญการตลาดทีเอ็มบี “D-Day” เข้าประกวด MAT Award 2014
ครั้งที่ 7 จัดโดยสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย สามารถคว้ารางวัลสุดยอดแคมเปญการตลาดแห่งปี คือ GOLD Award หรือ จากแคมเปญ "ยกระดับสิทธิประโยชน์ ไม่มีค่าธรรมเนียมข้ามเขตอีกต่อไป” หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าชุด”จรวด”
ความสำเร็จครั้งนี้มาจากความชัดเจนของแคมเปญการตลาดที่ถูกสื่อสารออกไป โดยเฉพาะในเรื่องของค่าธรรมเนียม ซึ่งจากการสำรวจกับลูกค้าพบว่าค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมเป็นสิ่งที่ลูกค้าต้อ
งการให้หมดไป เป็นสิ่งที่ลูกค้าอึดอัด แต่ทำอะไรไม่ได้ เมื่อทีเอ็มบีได้ประกาศยกระดับสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าทุกประเภท โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมฝาก จ่าย ถอน โอน หรือฝากเช็ค ข้ามเขตระหว่างบัญชีภายใน ทีเอ็มบีอีกต่อไป จึงตอบโจทย์ลูกค้าเป็นอย่างมาก ส่งผลให้ธนาคารมีบัญชีใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งรางวัลที่ได้รับในครั้งนี้ถือเป็นความภูมิใจ แต่ที่น่ายินดีมากกว่าคือ สามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการทำธุรกรรมให้กับลูกค้าได้อย่างแท้จริง”
ที่มา : (การเงินการธนาคารออนไลน์) http://www.moneyandbanking.co.th (28/04/2014 10:31)
ทีเอ็มบีมีกำไรไตรมาส 1 จำนวน 1,602 ล้านบาท
ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จากัด (มหาชน) ประกาศผลประกอบการงวดไตรมาสที่ 1 ปี 2557 ในวันนี้ โดยธนาคารและบริษัทย่อยมีผลกำไรจากการดำเนินงานหลักก่อนสำรองจำนวน 3,159 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,602 ล้านบาท ลดลง 12% จากไตรมาส 1 ของปีที่แล้ว ขณะที่สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) ลดลงเล็กน้อยจาก 3.87% เหลือ 3.85% และสัดส่วนสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ยังคงแข็งแกร่งที่ 138%
ในไตรมาส 1 นี้ ธนาคารดำเนินงานด้วยความรอบคอบระมัดระวังในสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน โดยเฉพาะการขยายสินเชื่อเป็นไปด้วยความระมัดระวังมากขึ้น ทำให้สินเชื่อขยายตัวเพียงเล็กน้อยในไตรมาสนี้เพียง 1,200 ล้านบาทหรือ 0.3% จากสิ้นเดือนธันวาคม 2556 ในขณะที่ปริมาณเงินฝากยังคงเพิ่มขึ้นได้ดีประมาณ 29,000 ล้านบาทหรือ 5.5% โดยเป็นเงินฝากที่เพิ่มจากทั้งลูกค้าเงินฝากรายย่อยในผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีผลตอบแทนดี เช่น เงินฝากไม่ประจำ (No Fixed) และบัญชีเงินฝากใน ME การธนาคารรูปแบบใหม่ รวมทั้งเงินฝากเพื่อธุรกรรมทางการเงิน (Transactional Banking Account) ซึ่งธนาคารให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จากการเติบโตของสินเชื่อที่น้อยและเมื่อประกอบการลดดอกเบี้ยในตลาด ทำให้ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ย (Net Interest Margin) ลดลงเป็น 2.87% จาก 2.95% จากไตรมาส 1 ปีที่แล้ว แต่รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ (Net Interest Income) ยังเพิ่มขึ้น 6%
รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาสนี้ลดลง 10% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีที่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการลดลงของค่าธรรมเนียมจากการขายกองทุนเนื่องจากภาวะตลาดไม่เอื้ออำนวยและการลดลงของค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับสินเชื่อเนื่องจากธนาคารชะลอการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้าใหม่ ในขณะที่ค่าธรรมเนียมธุรกรรมต่างประเทศ (Trade Finance) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้รายได้รวมจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียง 1% ขณะที่ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการปรับเพิ่มขึ้นตามปกติของค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าใช้จ่ายอาคารสาขา และค่าใช้จ่ายการตลาด ทำให้กำไรของธนาคารในไตรมาสนี้ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีที่แล้ว
นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ทีเอ็มบี กล่าวว่า “ในปี 2557 นี้ธนาคารให้ความสำคัญกับการเติบโตอย่างมีคุณภาพและความมั่นคงของธนาคารเป็นหลัก โดยยังคงมุ่งเน้นการขยายฐานลูกค้าเงินฝากธุรกรรมทางการเงินอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามธนาคารได้ปรับเป้าหมายของการขยายสินเชื่อลงเหลือประมาณ 6-8% และพยายามรักษาคุณภาพสินทรัพย์ให้อยู่ในระดับดี โดยในไตรมาสนี้ แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจถูกรุมเร้าด้วยปัจจัยลบต่างๆ แต่สัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPL Ratio) ของธนาคารและบริษัทย่อยคงที่ในระดับ 3.85% นอกจากนี้ธนาคารยังได้คงสัดส่วนสำรองฯต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Coverage Ratio) ในระดับสูงที่ 138%
ธนาคารยังคงดำรงสถานะการเงินที่แข็งแกร่ง มีระดับความเพียงพอของเงินกองทุน (CAR) ภายใต้เกณฑ์ Basel III อยู่ที่ 15.3% โดยเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Tier 1) ในสัดส่วน 10.5 % ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ที่ 8.5% และ 6.0% ตามลำดับ
นายบุญทักษ์ กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า “ในไตรมาสที่เหลือของปีธนาคารจะยังคงดำเนินงานอย่างระมัดระวัง อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีแผนจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสู่ตลาด เพื่อสร้างบริการที่มีคุณค่าให้กับลูกค้าและยังคงมุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานเพื่อให้ธนาคารมีผลประกอบการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นที่ยั่งยืน”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น