วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557


แบงก์ตุนเงินสดรับ "เทศกาลวันสงกรานต์" คาดสะพัดกว่า 1 แสนล้าน


ประเพณี สงกรานต์ ของไทย


     แบงก์สำรองเงินสดให้ลูกค้ากดใช้ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์กว่า 2 แสนล้านบาท เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 24% ผ่านเอทีเอ็มทั่วประเทศรวมถึงเครือข่ายสาขาในห้าง ด้านหอการค้าไทย คาดเงินสะพัด 1 แสนล้านบาท ส่วน ศูนย์ วิจัยกสิกรไทย สำรวจคนกรุง ใช้เงิน 2.3 หมื่นล้าน 

     ธนาคารกรุงไทย ระบุว่า ธนาคารได้เตรียมสำรองเงินสดไว้รองรับการใช้จ่ายของ ลูกค้าระหว่าง วันที่ 26 ธ.ค.2556-2 ม.ค.2557 ทั้งสิ้น 71,330 ล้านบาท เทียบกับช่วงปีที่ผ่านมาที่สำรองเงินสดไว้ 57,600 ล้านบาท คิด เพิ่มขึ้น 23.84% ผ่านเครื่องเอทีเอ็มและสาขาในห้างของธนาคารที่เปิดให้บริการ 

     ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ รายงานว่า ธนาคารได้เตรียมเงินสดไว้ให้ลูกค้าเบิกจ่ายในช่วงปีใหม่รวมแล้ว 52,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อนที่เตรียมไว้ 48,500 ล้านบาท แบ่งช่องทางสาขา 12,500 ล้านบาทและช่องทางเอทีเอ็ม 39,500 ล้านบาทจากเอทีเอ็มที่มีอยู่ 9,091 เครื่อง อย่างไรก็ตามถือเป็นการสำรองเงินด้วยอัตราที่ต่ำกว่าการเติบโตของปีก่อนๆ เนื่องจากแนวโน้ม อัตราเพิ่มของการถอนเงินเริ่มลดน้อยเมื่อเทียบกับการเพิ่มของปีที่แล้วประกอบกับในปีที่ผ่านมามีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทด้วย 

     ด้าน ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) แจ้งว่า ช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค.2556 จนถึง 1 ม.ค.2557 นั้น ทางธนาคารได้ดำเนินการสำรองเงินสดประมาณ 50,000 ล้านบาท จากปีก่อนที่สำรองประมาณ 40,000 ล้านบาท ผ่านช่อง ทางบริการเอทีเอ็มที่มีกว่า 8,300 จุดทั่วประเทศ รวมถึงสาขาไมโคร ที่เปิดให้บริการ ภายในห้างสรรพสินค้า และจุดชุมชน กว่า 200 แห่งทั่วประเทศได้ตามปกติ 

     ส่วนธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้สำรองเงินสด เพื่อรองรับการเบิกถอนเงินของลูกค้า และประชาชนผ่านเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็ม และสาขาของธนาคารทั่วประเทศ ในช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ รวม 8,252 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสดสำรองสำหรับบริการผ่านเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็ม จำนวน 6,025 ล้านบาท และผ่านสาขาของ ธนาคารจำนวน 2,227 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2556 ประมาณ 1,351 ล้านบาท ตาม จำนวนสาขาและเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็ม ที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันธนาคารมีสาขาจำนวน 608 สาขา และเครื่องกรุงศรี เอทีเอ็ม จำนวน 4,569 เครื่องทั่วประเทศ 

     ธนาคารกสิกรไทยเตรียมสำรองเงินสด สำหรับให้บริการในสาขาและเครื่องเอทีเอ็ม เพื่อรองรับการใช้จ่ายในช่วงวันหยุดยาวเทศกาลวันขึ้นปีใหม่ ระหว่างวันที่ 28 ธ.ค. 2556-1 ม.ค.2557 จำนวน 46,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาราว 6,000 ล้านบาท 

     ธนาคารทหารไทยได้สำรองเงินสดปีใหม่นี้ 8,000 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาโดยแบ่งเป็นสำรองในเงินตู้เอทีเอ็มทั่วประเทศ 4,000 ล้านบาท และสำรองเงินที่สาขาทั่วประเทศ 4,000 ล้านบาท 
     
     ธนาคารซีไอเอ็มบีไทยก็เตรียมสำรองเงินสดช่วงปีใหม่ 2,400 ล้านบาท เป็นการสำรองใกล้เคียงกับปีก่อนที่ 800 ล้านบาท และผ่านเครื่องเอทีเอ็ม 1,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 23.08% เนื่องจากปีใหม่ปีนี้วันหยุดยาวมากกว่าปีที่แล้ว 

     โดยเฉลี่ยธนาคารเตรียมสำรองเงินสด กว่า 2 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 24% เมื่อเทียบปีก่อน รองรับลูกค้าใช้จ่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ 

     ด้านผลสำรวจของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยพบว่า ประชาชนจะจับจ่ายใช้สอยถึง 105,827 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.6% เมื่อเทียบกับปี 2554 ที่มีการใช้จ่าย 91,520 ล้านบาท แบ่งเป็นการใช้จ่ายเลี้ยงสังสรรค์ 7,341 ล้านบาท ทำบุญ 8,696 ล้านบาท ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 11,069 ล้านบาท ซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย 672 ล้านบาท ซื้อสินค้าคงทน 1,291 ล้านบาท ท่องเที่ยวในประเทศ 49,286 ล้านบาท และท่องเที่ยวต่างประเทศ 27,468 ล้านบาท แต่เมื่อคิดเป็นการใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนที่ 9,153 บาท ถือว่าแตะระดับ 1 แสนล้านบาท ในรอบ 7 ปี นับตั้งแต่ปี 2550 

     ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เม็ดเงินค่าใช้จ่ายในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2557 ของคนกรุงเทพฯ จะมีเม็ดเงินสะพัดไม่ต่ำกว่า 23,100 ล้านบาท ขยายตัว 8.5% เมื่อเทียบ กับปีที่ผ่านมา โดยแยกเป็นค่าใช้จ่ายด้านอาหารและเครื่องดื่ม 6,500 ล้านบาท รอง ลงมาคือ การให้เงินพ่อแม่พี่น้อง 5,200 ล้าน บาท ท่องเที่ยว 4,500 ล้านบาท ซื้อของขวัญ ของฝาก 4,100 ล้านบาท ทำบุญ 2,700 ล้าน บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 100 ล้านบาท

ที่มา :  สยามธุรกิจ (http://www.siamturakij.com) /วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2557 เวลา 23.07 น.


  • TMB ชวน SME ถอนพิษศก.เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการรวมทั้งซัพพลาย



  •             นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย (TMB) กล่าว ในงานมอบประกาศนียบัตรฉลองความสำเร็จของโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain รุ่นที่ 1 ว่า จากดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม (TMB – SME Sentiment Index) พบว่า ความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อมในกรุงเทพฯ ได้มีการลดลงอย่างมีนัยยะ โดยลดลงจาก 42.6% ณ ไตรมาส 4/2556 เป็น 35.9% ณ ไตรมาส 1/2557 โดยผู้ประกอบการมีมุมมองว่า รายได้ในอีก 3 เดือนข้างหน้า ไม่เพิ่มจากปัจจุบัน และต้นทุนจะสูงขึ้น ด้วยสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ทำให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะเอสเอ็มอีจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อทำให้ต้นทุนของตัวเองลดลง และเน้นเพิ่มประสิทธิภาพของธุรกิจตลอดซัพพลายเชน ก็จะเป็นแนวทางที่ทำให้เอสเอ็มอีอยู่รอดและแข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว
    ทีเอ็มบีในฐานะผู้ให้บริการทางการเงินได้นำหลักการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ อย่าง Lean Six Sigma มาใช้อย่างเต็มรูปแบบทั้งองค์กรตั้งแต่ปี 2553 ทำให้สามารถให้บริการที่ดีขึ้นแก่ลูกค้า ขณะที่ต้นทุนลดลง
    "ทีเอ็มบีเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยนอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพของแต่ละบริษัทแล้ว การเพิ่มประสิทธิภาพตลอดซัพพลายเชน โดยการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำนั้น จะส่งผลให้การเพิ่มประสิทธิภาพได้ผลมากกว่าการเพิ่มประสิทธิภาพที่ทำกันเองภายในแต่ละบริษัทมาก ซึ่งแต่ละบริษัทควรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าทำอย่างไรเพื่อช่วยให้คู่ค้าของคุณประสบความสำเร็จ เพราะความสำเร็จของคู่ค้าทั้งซัพพลายเชน ก็คือความสำเร็จของบริษัทคุณนั่นเอง"นายบุญทักษ์ กล่าว
    ทีเอ็มบีได้ริเริ่มโครงการ TMB Efficiency Improvement for Supply Chain เมื่อปลายปี 2556 โดยจะเน้นการเรียนรู้จริง นำไปใช้ได้จริง เชื่อมโยงการพัฒนาแบบซัพพลายเชน และสร้างความสัมพันธ์ในเครือข่ายธุรกิจเดียวกัน ต่อยอดด้วยกิจกรรมเสริมความรู้และการให้คำปรึกษา สำหรับโครงการรุ่นที่ 1 ที่เพิ่งปิดการอบรมไป ได้รับฟีดแบ็คจากผู้เข้าอบรมที่ดีมาก โดยเฉพาะความรู้และเนื้อหาจากการอบรมที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงประสิทธิภาพทั้งซัพพลายเชนได้จริง
    นายนิรันดร์ แสงสุขเอี่ยม กรรมการผู้จัดการ กลุ่มบริษัท ศิริคุณ ซีฟู้ด หนึ่งในผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า สิ่งที่ได้จากการเรียน สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ ทุกครั้งที่มาอบรม พอกลับไปพนักงานที่บริษัทจะมีงานทำเพิ่มตลอดเวลา ผมจะเอาเรื่องที่เรียนไปลองใช้กับที่บริษัทจริงๆ ผลลัพธ์ที่ออกมาจับต้องได้ และคิดว่ายังต้องทำต่อไปเพราะว่าการเพิ่มประสิทธิภาพคงสามารถพัฒนาได้อีกหลายส่วน อย่างในส่วนของซัพพลายเชนเองเราก็มีการรวมกลุ่มกับชาวประมงเพื่อพูดคุยถึง spec สินค้าที่ต้องการ แล้วตั้งกลุ่มสื่อสารและช่วยเหลือกัน ทำให้สื่อสารได้รวดเร็ว พร้อมได้วัตถุดิบตามที่ต้องการ ผลที่ออกมาก็คือ win-win กันทุกฝ่าย
    นายกุลวัชร ภูริชยวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิ ออริจินัล ฟาร์ม จำกัด ผู้เข้าร่วมโครงการอีกรายหนึ่งให้ข้อคิดว่า การเพิ่มประสิทธิภาพของซัพพลายเชนมีความสำคัญมาก เราได้มีการพูดคุยกับซัพพลายเออร์มากขึ้น เพื่อจัดทำแผนสั่งซื้อระยะยาว เราจะมีการอัพเดทกันทุกเดือน มีการประมาณการจากฝั่งโอเปอเรชั่นที่ดูยอดขาย ซึ่งจะทำให้ลดความผกผันของราคาได้มากขึ้น เราจึงเห็นราคาได้ในระยะยาวพอสมควร
    "ในโอกาสการจบหลักสูตรและมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้เข้าร่วมโครงการรุ่นที่ 1 สำหรับอุตสาหกรรมอาหาร ขณะนี้ทีมเอ็มบีได้เปิดรับสมัคร TMB  Efficiency Improvement for Supply Chain  รุ่นที่ 2 สำหรับอุตสาหกรรมอาหารจำนวน 100 บริษัท ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจส่งใบสมัครกว่า 200 ราย ผู้สนใจสามารถสมัครได้จนถึงวันที่ 28 มีนาคมนี้ นอกจากนี้ธนาคารยังมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ ในอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยในครึ่งปีหลัง 2557 นี้จะเปิดรับอีก 3  รุ่น รวมเป็น 5  รุ่น เพื่อสร้างซัพพลายเชนคอมมูนิตี้ของประเทศ"บุญทักษ์ กล่าว
  • ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 24 มีนาคม 2557