วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน 




       ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น

SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ 
SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง 
แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า 
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) 
ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า 
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 
ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 
ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า 
ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
หากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ 
ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/
2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง
นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล 
มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่น
เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง 
ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME 
ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก 
ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 
3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออก
และการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 
1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 
ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด
อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ 
จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม 
แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME 
ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว 
แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ 
นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป 
เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ
ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว
      นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง

      นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่นเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME
ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆอย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออกและการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
      นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด
      อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว
แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ
ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว


ที่มา :  (การเงินการธนาคารออนไลน์) http://www.moneyandbanking.co.th (02/05/2014 14:48)

 ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


      นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเฟลด์ (ซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ทีเอ็มบี และ นายพิภพ  กุนาศล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในข้อตกลงสินเชื่อระยะยาว โดยทีเอ็มบีให้การสนับสนุนสินเชื่อ จำนวนเงิน 500 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี เพื่อเสริมศักยภาพด้านการดำเนินธุรกิจแก่บริษัท ภัทรลิสซิ่ง 


ที่มา : https://www.tmbbank.com(ธนาคาร ทหารไทย )  วันที่ 30 เมษายน 2557