วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ทีเอ็มบีสนับสนุนซิมโฟนี่ขยายวงจรสื่อสารความเร็วสูงทั่วประเทศและเตรียมเชื่อมการสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน



ทีเอ็มบีสนับสนุนซิมโฟนี่ขยายวงจรสื่อสารความเร็วสูงทั่วประเทศและเตรียมเชื่อมการสื่อสารกับประเทศเพื่อนบ้าน

          
          ทีเอ็มบี สนับสนุนบริษัทซิมโฟนี่ 300 ล้านบาท เพื่อลงทุนขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานวงจรสื่อสารความเร็วสูง ให้ครอบคลุมพื้นที่บริการทั่วประเทศ และใช้เป็นฐานเชื่อมโยงการสื่อสารไปยังประเทศเพื่อนบ้าน   นายพีรพงศ์ นิธิไกรวุฒิ หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจ 1 ทีเอ็มบี เปิดเผยว่าในปีที่ผ่านมาปริมาณการใช้อินเตอร์เน็ตของคนไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 40%   และมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งรวมผู้ใช้บริการทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และในระดับภูมิภาคจากประเทศเพื่อนบ้าน  ธนาคารมองว่าปัจจุบันประเทศไทยยังคงอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอินเทอร์เน็ตและแอพพลิเคชั่นต่างๆ  ดังนั้น โอกาสการเติบโตของผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงจึงยังมีอีกมาก   เรียกว่าเติบโตควบคู่กับความต้องการของประชาชนและภาคธุรกิจก็ว่าได้ และในโอกาสที่บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)  หรือ SYMC ได้ขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานสำหรับวงจรสื่อสารความเร็วสูงอย่างต่อเนื่อง ธนาคารมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของบริษัท ซิมโฟนี่ฯ  ซึ่งมีความสามารถในการตอบสนองความต้องการของตลาดในระยะยาวและมีรายได้ที่เติบโตสม่ำเสมอจากการให้เช่าโครงข่ายการสื่อสาร ในปีนี้ ธนาคารจึงได้ให้การสนับสนุนทางการเงินเพิ่มเติมจำนวน 300 ล้านบาท จากปีที่แล้วที่มีอยู่จำนวน 200 ล้านบาท  สำหรับนำไปลงทุนขยายโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม  โดยบริษัท ซิมโฟนี่ฯ มีเป้าหมายที่จะขยายพื้นที่การให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการวงจรความเร็วสูงระหว่างประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อรองรับ ธุรกรรมการสื่อสารที่เพิ่มขึ้นจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 
นายกรัณย์พล อัศวสุวรรณ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ซิมโฟนี่ฯ ได้ขยายพื้นที่ให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตรงกับความต้องการการเชื่อมต่อที่มากขึ้น และขยายแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้น เช่น การเชื่อมต่อในโครงข่ายส่วนบุคคล ดิจิตอลทีวี โทรศัพท์ 3G ทั้งนี้ บริษัท ซิมโฟนี่ฯ เป็นผู้ให้บริการวงจรสื่อสารความเร็วสูงภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยใช้โครงข่ายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงเป็นโครงข่ายหลัก เพื่อรองรับการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเป็นรายแรกในประเทศไทยที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ประเภทมีโครงข่ายเป็นของตนเอง จากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในปี 2549 และในปี 2554 บริษัท ซิมโฟนี่ฯ ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สาม เพื่อให้บริการวงจรเช่าส่วนบุคคลระหว่างประเทศ (International Private Leased Circuit : IPLC) ใบอนุญาตเพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ระหว่างประเทศ (International Internet Gateway : IIG) และบริการชุมสายอินเทอร์เน็ต (National Internet Exchange : NIX) แบบที่สอง และได้รับอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยี Wi-Fi เพิ่มเติมจากโครงข่ายเดิมตามใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมแบบที่สอง ประเภทมีโครงข่ายเป็นของตนเองฉบับเดิม  นอกจากนี้ บริษัทซิมโฟนี่ฯ ยังได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคม การให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบที่หนึ่ง  และใบอนุญาตประกอบกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์เพื่อให้บริการโครงข่ายกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ที่ไม่ใช้คลื่นความถี่ระดับชาติ ในปี 2556


ME จับมือ นิตยสาร Esquire จัดงาน Money Grows เปิดมุมมองใหม่ไขเคล็ดลับการออมให้งอกเงย






               นางสาวรัชดา เสริมศิลปกุล ผู้อำนวยการการตลาดและการขาย ME by TMB (ที่ 3 จากซ้าย) พร้อมด้วย นายภาณุ บุรุษรัตนพันธุ์ บรรณาธิการนิตยสาร Esquire (ที่ 5 จากซ้าย) จัดกิจกรรมเสวนาจิบกาแฟยามบ่ายในหัวข้อ “Money Grows ไขเคล็ดลับการวางแผนการเงินและทางเลือกใหม่สำหรับการออมให้งอกเงยกับ ME by TMB” โดยได้รับเกียรติจากบรรณาธิการนิตยสารและนักเขียนชื่อดัง วรรณศิริ ศรีวราธนบูลย์ (ที่ 2 จากซ้าย) ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์การออมเงิน ณ ร้านคอฟฟี่ คลับ เมื่อเร็วๆ นี้

ทีเอ็มบีสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้ แซส เทค โซลูชั่น



ทีเอ็มบีสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนให้ แซส เทค โซลูชั่น


              นายไตรรงค์ บุตรากาศ (ซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า ธนาคารได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ บริษัท แซส เทค โซลูชั่น จำกัด เป็นจำนวน 195 ล้านบาท เพื่อเสริมศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งปัจจุบันประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน ได้แก่  เครื่องชั่งอัตราการไหลระดับความสูง, เครื่องจักรกล, ปั๊ม, วาวล์ และเครื่องมือทุกชนิด เพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันรายใหญ่ของประเทศ โดยนายนายสุรศักดิ์ อุดมศิลป์ กรรมการ บริษัท แซส เทค โซลูชั่น จำกัด ร่วมลงนามในสัญญา ณ ทีเอ็มบี สำนักงานใหญ่


วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“ความเป็นเมือง” พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค




          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ เทรนด์ความเป็นเมืองกำลังขยายตัวสู่หลายจังหวัดในภูมิภาค  สามารถกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  นับเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น และเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค
จากการขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคซึ่งเป็นที่สนใจในขณะนี้ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนในภูมิภาค ทำให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น การบริโภค การพักอาศัยและรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับประชาชนเขตกรุงเทพฯ มากขึ้น นั่นคือ สังคมมี “ความเป็นเมือง” (Urbanization) มากขึ้นนั่นเอง ยิ่งเศรษฐกิจในพื้นที่ดีต่อเนื่อง ย่อมทำให้รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ความเป็นเมืองก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย จากข้อมูลเราพบว่า จังหวัดที่มีจุดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ จะมีความเป็นเมืองเร็วกว่าจังหวัดอื่นๆ จุดเด่นที่สำคัญคือ
จังหวัดท่องเที่ยว : (ภูเก็ต เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่) เศรษฐกิจมีความเป็นเมืองได้เร็วที่สุด เห็นได้จากปริมาณการค้าจังหวัดกลุ่มนี้เติบโตเฉลี่ย 5.44% ต่อปี เพราะเกิดการจ้างงานกระจายรายได้เป็นวงกว้าง เกิดธุรกิจจำนวนมากจากการท่องเที่ยว รายได้ประชาชนจึงเพิ่มขึ้นเร็ว 
จังหวัดฐานการผลิต : (ชลบุรี ระยอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี) ปริมาณการค้าเติบโตเฉลี่ย 5.37% ต่อปี จังหวัดกลุ่มนี้มีนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐาน จึงเกิดการจ้างงานจำนวนมากในพื้นที่ การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ
                                    
จังหวัดการค้าแถบชายแดน : (สงขลา อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย) เนื่องจากความได้เปรียบที่ตั้ง ทำให้เกิดการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าเติบโต 4.37%ต่อปี และน่าจะเติบโตต่อเนื่องจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่ยังมีทิศทางสดใส             
           
จังหวัดการค้าและการขนส่ง : (นครราชสีมา ขอนแก่น นครสวรรค์ พิษณุโลก) เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อจากจังหวัดขนาดเล็กที่อยู่รายรอบช่วยหนุนเศรษฐกิจจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าขยายตัวเฉลี่ย 4.06% ต่อปี การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

ขณะที่เขต กทม.และปริมณฑล มีการค้าเติบโตเฉลี่ย 4.22% ต่อปี ทั้งสี่กลุ่มจังหวัดจึงมีความเป็นเมืองเร็วมาก และบางจังหวัดอาจมีจุดเด่นหลายด้าน เช่น ชลบุรี ระยอง อยู่ในกลุ่มจังหวัดฐานการผลิต และยังมีการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่นอีกด้วย จึงทำให้การค้าขายคึกคักกว่าจังหวัดอื่น ระดับของความเป็นเมืองจึงเกิดเร็วขึ้นตามรายได้ของประชาชน กลุ่มที่ความเป็นเมืองใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น จังหวัดที่ก้าวสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นคือ สุราษฎร์ธานี กระบี่ อยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก

การก้าวสู่ความเป็นเมือง ถือเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและไลฟ์สไตล์ เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้น จึงต้องการสินค้าและบริการที่ยกระดับคุณภาพชีวิต และความสะดวกสบายมากขึ้นนั่นเอง ธุรกิจที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่จะมีรูปแบบของร้านค้าทันสมัย เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นธุรกิจ SME ในพื้นที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นและความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นพร้อมๆ กัน การเรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคและตอบสนองอย่างตรงจุด จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงจากธุรกิจขนาดใหญ่ได้และได้รับผลบวกเต็มๆ จากเทรนด์ ”ความเป็นเมือง”



หั่นคาดการณ์ 2557 หวั่นการเมืองกระชับพื้นที่เศรษฐกิจ


            ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ลง จากร้อยละ 2.9 เหลือร้อยละ 2.0 เหตุความไม่แน่นอนทางการเมืองบั่นทอนการใช้จ่าย โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน คาดอาจได้เห็นสภาพัฒน์ฯ เผยจีดีพีไตรมาสแรกหดตัวจากไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ 1.7
            เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาสแรกปี 2557 หลายตัวบ่งชี้ถึงความอ่อนแอของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบจากความยืดเยื้อของสถานการณ์ทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4 ในเดือนมีนาคม หรือดัชนีการลงทุนภาคเอกชนที่หดตัวถึงร้อยละ 6.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า สะท้อนความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน และการชะลอการลงทุนออกไปก่อนของภาคธุรกิจ
จริงอยู่ที่เศรษฐกิจไทยนั้นเริ่มส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงไตรมาสสองของปี 2556 ก่อนที่การชุมนุมทางการเมืองจะเริ่มต้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเมืองเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้การชะลอตัวดังกล่าว “ลากยาว” แทนที่จะกลับมาฟื้นตัวได้ตามวัฏจักรเศรษฐกิจตามปรกติ ซึ่งถ้าพิจารณาตามปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยที่ยังแข็งแกร่งแล้ว เราไม่ควรเห็นภาวะซบเซาข้ามปีเช่นนี้

จากทิศทางเศรษฐกิจที่ยังอ่อนแรงดังกล่าว ทำให้ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือร้อยละ 2.0 หรือลดลงมาเกือบร้อยละหนึ่งจากที่ประเมินไว้ก่อนหน้า โดยองค์ประกอบสำคัญของจีดีพีที่หน่วงการขยายตัวก็คือ

การลงทุนซึ่งน่าจะหดตัวจากปีก่อนหน้ากว่าร้อยละ 5 ในขณะที่การส่งออกเองก็อาจไม่ออกมาดีอย่างที่หลายฝ่ายคาด จากข้อจำกัดบางประการ อาทิ ปัญหาด้านอุปทานของการส่งออกกุ้งจากโรคตายด่วน  ราคาสินค้าเกษตร (โดยเฉพาะข้าวและยางพารา) ซึ่งยังถูกกดดันตามราคาตลาดโลก ซ้ำเติมกลไกภาครัฐที่ยังปฏิบัติการได้ไม่เต็มที่จากการเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมสะดุดลง
ศูนย์วิเคราะห์ฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ในขณะที่ความน่าจะเป็นที่เศรษฐกิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย (จีดีพีหดตัวติดต่อกันสองไตรมาส) ยังคงมีความเป็นไปได้ต่ำ ภายใต้สเถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นบ้างแต่ยังไม่น่ากังวล อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะถูกตรึงไว้ที่ระดับค่อนข้างต่ำ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเอื้อต่อผู้ส่งออก

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขคาดการณ์ข้างต้น อยู่บนสมมติฐานที่ว่าประเทศไทยจะมีรัฐบาลใหม่ในช่วงไตรมาสสามของปี แต่หากไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ภายในปีนี้ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสถานการณ์ที่มีความเป็นไปได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การขยายตัวทางเศรษฐกิจจะมีความเสี่ยงขาลงมากขึ้น ทำให้อาจเติบโตไม่ถึงร้อยละ 2 ก็เป็นได้

รายงานจีดีพีของสภาพัฒน์ ในครั้งนี้ จึงถือว่ามีความสำคัญต่อภาคธุรกิจ และจะมีผลเชิงจิตวิทยาต่อนักลงทุนเช่นกัน เพราะนอกจากจีดีพีไตรมาสหนึ่งจะเป็นไตรมาสแรกที่ได้เห็นผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองอย่างเต็มๆ แล้ว ตัวเลขนี้จะฉายให้เห็นภาพเศรษฐกิจในไตรมาสที่เหลือของปีอีกด้วย จึงจำเป็นที่ต้องจับตาแถลงการณ์วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคมนี้ อย่างใกล้ชิด 


วันพุธที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ทีเอ็มบี ตอบโจทย์ธุรกรรมการเงินต้อง TMB นำเสนอผลิตภัณฑ์ บริการ ที่หลากหลายความสุขทางการเงิน พร้อมยกระดับสิทธิประโยชน์ให้ชีวิตดียิ่งขึ้นอย่างแท้จริงในงาน Money Expo 2014




               ทีเอ็มบี หรือ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ในงาน Money Expo 2014 ซึ่งธนาคารได้มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างสร้างสรรค์ สร้างคุณค่าเพื่อยกระดับสิทธิประโยชน์ให้ลูกค้ามีชีวิตที่ดียิ่งขึ้น ด้วยความหลากหลายความสุข ทางการเงินจาก TMB เพื่อตอกย้ำ“ธุรกรรมการเงินต้อง TMB” ทั้งด้านเงินฝาก สินเชื่อ บัตรเครดิต ประกัน การลงทุน และบัญชี ME ฝากไม่ประจำ ดอกเบี้ยสูง 4 เท่าของออมทรัพย์ ในงาน Money Expo 2014 ตั้งแต่วันที่ 8-11 พฤษภาคมนี้ ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี
               
                 ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ Make THE Difference ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ชีวิตของลูกค้าดีขึ้น ซึ่งทีเอ็มบีนำมาเสนอในงาน Money Expo 2014 ประกอบไปด้วย
                
                 ME by TMB บัญชีเงินฝากรูปแบบใหม่ ถอนได้ ดอกเบี้ยสูง 4 เท่าของออมทรัพย์ ที่มอบความสะดวก และความคุ้มค่าสำหรับลูกค้าที่ชอบบริหารจัดการการเงินด้วยตนเองผ่านอินเตอร์เน็ตแบงก์กิ้ง ฝาก-ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำ และดูดอกเบี้ยได้ทุกวัน ทุกเวลา และสำหรับลูกค้าที่นำบัตรประชาชนพร้อมสมุดบัญชีออมทรัพย์มาลงทะบียนขอเปิดบัญชีภายในงาน พิเศษ รับ “บัตรกำนัลสตาร์บัคส์ มูลค่า 100 บาท” ทันที
             
                 บัญชีเงินฝากทีเอ็มบีช่วยให้ลูกค้ารวยแบบง่ายๆ ด้วย “บัญชีเพื่อใช้” (Transactional Account) ที่ช่วยประหยัดค่าธรรมเนียม และ “บัญชีเพื่อออม” ที่ให้ดอกเบี้ยสูง สำหรับ “บัญชีเพื่อใช้” เป็นบัญชีเงินฝากที่ช่วยให้ลูกค้าสามารถทำธุรกรรมทางการเงินประจำวันทุกประเภทได้อย่างมีประสิทธิภาพและพิสูจน์แล้วว่าช่วยให้ลูกค้าประหยัดค่าใช้จ่ายได้จริงอย่างคุ้มค่าในการทำธุรกรรม เช่น กดเงิน จ่ายบิล และโอนเงิน ผ่านตู้เอทีเอ็ม อินเตอร์เน็ตแบงกิ้ง โมบายแบงกิ้ง และโฟนแบงกิ้ง โดยมีให้เลือกตามปริมาณการใช้งานของลูกค้า ทั้งบัญชี“TMB โน ฟี” สำหรับลูกค้าที่ทำธุรกรรมจำนวนมาก ทำรายการได้ฟรีรวมสูงสุด 20 ครั้งต่อเดือน และ บัญชี TMB ธุรกรรมทำฟรี สำหรับลูกค้าที่ทำรายการธุรกรรมทางบัญชีน้อยลงมา โดยสามารถกดเงิน จ่ายบิล โอนเงิน ผ่านช่องทางอิเลกทรอนิกส์ ได้ฟรี รวมสูงสุด 10 ครั้งต่อเดือน 

                  นอกจากนี้ ลูกค้ายังสามารถเปิดบัญชีในกลุ่ม “บัญชีเพื่อออม” ซึ่งธนาคารขอนำเสนอ “บัญชีเงินฝากไม่ประจำ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยสูง” (No Fixed) เป็นบัญชีให้ดอกเบี้ยสูง 2.25% ปราศจากข้อจำกัดใดๆ ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ไม่มีขั้นต่ำในการเปิดบัญชีและฝากเพิ่ม
“บัญชีเงินฝากออมทรัพย์แทนความห่วงใย” (TMB Savings Care) ที่ให้ลูกค้าทั้งออม พร้อมรับความคุ้มครองในกรณีเสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ สูงสุด 1 ล้านบาท โดยลูกค้าไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกัน เพียงลูกค้าเปิดบัญชีขั้นต่ำ 5,000 บาท ก็จะได้รับความคุ้มครอง 20 เท่าของยอดเงินฝาก สูงสุด 1 ล้านบาท พิเศษสุดเมื่อเปิดบัญชีภายในงานฯ จะได้รับ “สมุดนิทานแทนความห่วงใย” จำนวน 1 เล่ม ซึ่งเป็นเรื่องราวความห่วงใยในครอบครัวมาร้อยเรียงถ่ายทอดผ่านสมุดนิทานและตัวการ์ตูนป๊อปอัพ และลุ้นรับหมอนผ้าห่มนกฮูกสุดน่ารัก เพียงแชร์เรื่องราวและภาพความประทับใจในครอบครัวพร้อมถ่ายรูปคู่สมุดนิทานผ่าน Facebook หรือ Instagram ใส่ #TMBSavingsCare และระบุอีเมล์ของลูกค้า ตั้งแต่วันนี้ - 31 พ.ค. 2557

                 ในส่วนของสินเชื่อ ทีเอ็มบีมีข้อเสนอพิเศษ อาทิ กู้บ้าน ที่ ทีเอ็มบี ดอกเบี้ยดี ตลอด 3 ปีแรก สำหรับลูกค้าที่ ต้องการขอกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งประเภท บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์ ห้องชุดคอนโดมิเนียม ทีเอ็มบี มีข้อเสนออัตราดอกเบี้ยที่ให้ลูกค้าสามารถเลือกการผ่อนชำระทั้งแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ 2 ปีแรก คือ เดือนที่ 1-2 ไม่คิดดอกเบี้ย เดือนที่ 3-24 ดอกเบี้ย 3.99% ปีที่ 3 เป็นต้นไป MLR-1.50% หรือแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ 3 ปีแรก คือ ปีที่ 1-3 ดอกเบี้ย 4.25% ปีที่ 4 เป็นต้นไป MLR-1.50% ซึ่งทำให้ลูกค้าสามารถเลือกการผ่อนชำระที่เหมาะสมตรงกับความต้องการได้ พร้อมสิทธิพิเศษฟรีค่าจดทะเบียนจำนอง และค่าธรรมเนียมธนาคารทุกประเภท และ รับฟรี ประกันอัคคีภัย 

                  ในงานยังมีข้อเสนอพิเศษ “สินเชื่อบุคคล ทีเอ็มบี รีไฟแนนซ์” ที่ให้ดอกเบี้ยพิเศษ 10% นาน 1 ปีเต็ม สำหรับลูกค้าที่ต้องการเคลียร์หนี้สินเชื่อบุคคล หรือบัตรเครดิตต่างๆ เป็นการแบ่งเบาภาระดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทางการเงินส่วนบุคคลให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับลูกค้าที่ต้องการความคุ้มครอง ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองชีวิต อุบัติเหตุ สุขภาพ บ้าน และรถยนต์ ก็สามารถเลือกรูปแบบประกันที่ตอบโจทย์ได้ทุกความต้องการของลูกค้า พร้อมพบโปรโมชั่นดีๆ พิเศษภายในงาน 

                  นอกจากนี้ ในส่วนลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีมีผลิตภัณฑ์และบริการที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าธุรกิจได้เป็นอย่างดี คือสินเชื่อธุรกิจ 3 เท่า 3 ก๊อก และบัญชีธุรกิจวัน แบงก์ วัน แอคเค้าท์ (One Bank One Account) โดยผู้สนใจที่ยื่นความจำนงค์ภายในงานและส่งเอกสารครบ จะได้ของที่ระลึกจากบูธอีกด้วย

                  สำหรับบูธทีเอ็มบี ในงาน Money Expo 2014 ได้รับการออกแบบภายใต้แรงบันดาลใจและแนวคิด Make THEDifference ที่ทีเอ็มบีอยากให้เป็นสถานที่ที่ลูกค้านึกถึงเป็นอันดับแรก เปรียบเสมือนบ้านหลังหนึ่ง นอกจากที่บ้านและที่ทำงาน เป็นสถานที่ที่สาม ที่พักพิงไว้วางใจ นั่งเล่น พบปะสังสรรค์ มีบริการที่หลากหลายและให้ความสุขทางการเงินโดยสามารถตอบโจทย์เรื่องการเงินของลูกค้าเพื่อให้คุณภาพชีวิตของลูกค้าดีขึ้น

                  ลูกค้าที่สนใจผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายและสิทธิประโยชน์มากมายที่ครอบคลุมกับความต้องการของลูกค้า ในด้านอื่นๆ อาทิ บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และสินเชื่อ SME ขอเชิญแวะมาพูดคุยสอบถามกับพนักงานได้ที่บูธทีเอ็มบี หรือพร้อมจะยกระดับสิทธิประโยชน์ให้

วันอังคารที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

TMBAM ชวน ‘จัดทัพลงทุน’ สู่ญี่ปุ่นและยุโรป คว้าโอกาสจากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของทั้งสองภูมิภาค 



        ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด (มหาชน)  กล่าวว่า “ในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว  ในขณะที่สถานการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศยังมีความผันผวนอยู่มาก  มุมมองการลงทุนในปีนี้ของ TMBAM จึงเป็นการชวนนักลงทุนไทยให้จัดทัพลงทุน โดยการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและคว้าโอกาสเพิ่มของผลตอบแทนด้วยการ สร้างมุมมองแบบนักลงทุนระดับโลก (Global Investor) ให้มากขึ้น โดยนักลงทุนจะยังลงทุนในประเทศอยู่ การกระจายการลงทุนบางส่วนไปยังภูมิภาคที่มีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างเข้ม แข็งต่อเนื่อง อาทิ ญี่ปุ่น และ ยุโรป ก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจในปัจจุบัน”
      “จากแรงตอบรับที่ดีของกองทุนหุ้นญี่ปุ่นและยุโรปของเราที่เสนอขายไป เมื่อช่วงต้นปี ผนวกกับแนวโน้มการฟื้นตัวที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องของทั้ง 2 ภูมิภาค  TMBAM จึงขอนำเสนอกองทุนหุ้นในภูมิภาคดังกล่าวอีกครั้ง ได้แก่  
    1. ‘กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2)’ ที่เน้นลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นผ่านทางกองทุนหลัก Nikkei 225 Exchange Traded Fund ซึ่งบริหารจัดการแบบเชิงรับ (Passive) โดย Nomura Asset Management  
    2. ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ ที่เน้นลงทุนในหุ้นยุโรปผ่านทางกองทุนหลัก Franklin European Growth Fund ซึ่งบริหารจัดการแบบเชิงรุก (Active) โดย Franklin Templeton Investments 
    3. ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ’ ที่มีนโยบายการลงทุนเหมือน ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ พร้อมบวกด้วยสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้นักลงทุน สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้  
    ทั้ง 3 กองทุนมีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศไม่ น้อยกว่า 90% ตลอดเวลา และกำหนดเปิดเสนอขายในระหว่างวันที่ 12 - 20 พฤษภาคม 2557 นี้”
      ดร.สมจินต์ กล่าวต่อว่า “ สำหรับ ‘กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2)’ นั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศในหุ้นของบริษัทฯ ชั้นนำที่พวกเรารู้จักกันเป็นอย่างดี และมีโอกาสเป็นลูกค้าเสมอๆ อาทิ Toyota, Honda, Nissan, Sony, Panasonic, Canon, Asahi, ANA, KAO, Sony, Toshiba, UNIQLO, และ 7-Eleven เป็นต้น ซึ่งคาดการณ์ว่าในช่วงหลังของปีนี้ บริษัทฯ เหล่านี้จะยังคงได้รับปัจจัยบวกจากภาพรวมของการเติบโตของเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ น่าจะขยายตัวต่อเนื่องนับจากปีที่แล้วจากนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของ รัฐบาลญี่ปุ่นและการบริโภคภาคประชาชนที่ยังคงไว้ด้วยความแข็งแกร่ง”  
        นอกจากนั้น กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2) ยังออกแบบในลักษณะ Trigger Fund ซึ่งจะช่วยเอื้อประโยชน์แก่ผู้ที่ไม่มีเวลาติดตามการเคลื่อนไหวของดัชนีหุ้น ญี่ปุ่นอย่างสม่ำเสมอ กองทุนกำหนดเป้าหมายทำกำไรรวม 10% ใน 1 ปี ระหว่างทางเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 10.5 บาท (ร้อยละ 5) จะทำการรับซื้อคืนอัตโนมัติทรัพย์สินของกองทุนให้ผู้ถือหน่วยลงทุน และเมื่อมูลค่าหน่วยลงทุนมากกว่าหรือเท่ากับ 11 บาท บริษัทฯ จะสับเปลี่ยนทรัพย์สินของกองทุนที่เหลือทั้งจำนวนให้ผู้ถือหน่วยลงทุนทุกราย โดยเงื่อนไขเป็นไปตามหนังสือชี้ชวน
       “สำหรับภูมิภาคยุโรปนั้น เราเชื่อว่า ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท’ และ ‘กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ’ เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นยุโรปพื้นฐาน ดีซึ่งผ่านการคัดสรรจาก Franklin Templeton Investments ผู้นำด้านการบริหารการลงทุนระดับโลกซึ่งมีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหาร จัดการกว่า 8.8 แสนล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐฯ  กองทุนหลัก Franklin European Growth Fund นี้มีแนวทางการบริหารเชิงรุก มีวิธีการคัดเลือกหุ้นที่มีวินัย และให้ความสำคัญกับหุ้นที่มีศักยภาพของกำไรที่จะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องใน อนาคต กองทุนหลักนี้มีผลตอบแทนในอดีตที่น่าสนใจและการันตีด้วยการได้รับการจัด อันดับสูงสุดห้าดาวจากสถาบัน Morningstar (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2557)” ดร.สมจินต์ กล่าวเสริม
        ผู้ที่สนใจลงทุนใน กองทุนเปิดทหารไทย Japan Equity Trigger 10%(2), กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท,กองทุนเปิดทหารไทย ยูโรเปี้ยน โกรท เพื่อการเลี้ยงชีพ หรือสนใจการลงทุนในกองทุนรวมอื่นๆภายใต้การจัดการของบริษัทฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนลูกค้าสัมพันธ์ TMBAM โทร 1725 หรือผ่านช่องทางการขายของบริษัท ได้แก่ TMB ทุกสาขาทั่วประเทศ ตัวแทนการสนับสนุนการขาย และทางอินเตอร์เนตผ่านเวปไซด์ www.tmbam.com 


วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน 




       ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น

SME คลายกังวลการเมือง เครียดภาวะเศรษฐกิจแทน
ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics เปิดเผยผลการจัดทำ
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี พบว่าผู้ประกอบการ 
SME มีภาวะธุรกิจไม่สดใสในไตรมาส 2 ปีนี้ แม้คลายกังวลปัญหาการเมือง 
แต่ให้น้ำหนักกับปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวเพิ่มขึ้น
นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า 
“ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) 
ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า 
ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 
ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ
ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 
ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า 
ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้น
หากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ 
ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/
2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง
นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล 
มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่น
เนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง 
ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME 
ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก 
ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 
3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออก
และการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 
1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 
ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด
อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ 
จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม 
แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME 
ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว 
แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ 
นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป 
เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ
ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว
      นายเบญจรงค์ สุวรรณคีรี ผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เปิดเผยว่า “ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการขนาดย่อม-ทีเอ็มบี” (TMB-SME Sentiment Index) ไตรมาส 1/2557 จากความเห็นของผู้ประกอบการ SME กว่า 900 กิจการ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในปัจจุบัน ลดลงต่อเนื่อง โดยล่าสุดอยู่ที่ 37.6 ซึ่งถือว่าค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ประกอบการขาดความมั่นใจด้านรายได้ของธุรกิจ

      ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ 51.1 ลดลงจากไตรมาสก่อนที่ 58.4 เนื่องจากผู้ประกอบการเห็นว่าในอีก 3 เดือนข้างหน้า ภาวะของธุรกิจไม่สดใสมากนัก และต้นทุนของธุรกิจอาจจะเพิ่มสูงขึ้นหากพิจารณาเฉพาะ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ที่ 45.2 และ ดัชนีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ 63.2 ลดลงจากไตรมาส 4/2556 ค่อนข้างมาก สาเหตุหลักมาจาก SME กังวลเรื่องของเศรษฐกิจและการเมือง

      นายเบญจรงค์ กล่าวว่า หากพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า กรุงเทพและปริมณฑล มีระดับความเชื่อมั่นในปัจจุบันและอนาคตลดลงค่อนข้างมากกว่าภาคอื่นเนื่องจากได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเมือง ขณะที่ราคายางพารามีแนวโน้มชะลอตัวตลอดมา ตั้งแต่ปี 2556 ทำให้ผู้ประกอบการ SME
ภาคใต้เชื่อมั่นต่อผลประกอบการในปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับภาคอื่นๆอย่างไรก็ตาม กลับพบว่า ภาคตะวันออก ผู้ประกอบการกลับมีความเชื่อมั่นด้านผลประกอบการในปัจจุบันเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
3 ไตรมาสติดต่อกัน เพราะภาคการผลิตและการค้าที่ฟื้นตัวจากการส่งออกและการท่องเที่ยวในพื้นที่ยังอยู่ในทิศทางที่สดใส
      นอกจากนี้ เมื่อสอบถามถึงปัจจัยที่ทำให้ SME กังวลมากที่สุดในไตรมาส 1 พบว่า “การเมือง” เป็นปัจจัยกังวลอันดับ 1 ถือเป็นครั้งแรกในระยะเวลาเกือบ 2 ปีนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล ซึ่งผู้ประกอบการในกรุงเทพมีความกังวลมากกว่าต่างจังหวัด
      อย่างไรก็ตาม พบว่า SME เริ่มกังวล การเมือง ลดลง เรื่อยๆ จากร้อยละ 43.3 ในเดือนมกราคม เป็น ร้อยละ 28.9 ในเดือนมีนาคม แต่หันมาให้น้ำหนักกับภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้น โดยจำนวน SME ที่กังวลเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 26.4 ในเดือนมกราคม เป็นร้อยละ 41.0 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา“แม้ว่า SME จะคลายความกังวลกับปัจจัยการเมืองไปบ้างแล้ว
แต่ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวและปัญหาการเมืองที่ยังยืดเยื้อ นับเป็นความท้าทายของ SME ในระยะต่อไป เราเห็นว่าหากการเมืองเริ่มคลี่คลายและภาครัฐมีความชัดเจนในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเ
ทศให้ฟื้นตัว จะช่วยเรียกความเชื่อมั่นของธุรกิจ SME กลับมาได้อีกครั้ง” นายเบญจรงค์กล่าว


ที่มา :  (การเงินการธนาคารออนไลน์) http://www.moneyandbanking.co.th (02/05/2014 14:48)

 ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


ทีเอ็มบี สนับสนุนสินเชื่อ ภัทรลิสซิ่ง


      นายอเล็กซานเดอร์ นนท์ แลงเฟลด์ (ซ้าย) หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าบรรษัทธุรกิจขนาดใหญ่ ทีเอ็มบี และ นายพิภพ  กุนาศล (ขวา) กรรมการผู้จัดการ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ร่วมลงนามในข้อตกลงสินเชื่อระยะยาว โดยทีเอ็มบีให้การสนับสนุนสินเชื่อ จำนวนเงิน 500 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี เพื่อเสริมศักยภาพด้านการดำเนินธุรกิจแก่บริษัท ภัทรลิสซิ่ง 


ที่มา : https://www.tmbbank.com(ธนาคาร ทหารไทย )  วันที่ 30 เมษายน 2557